Blogger templates

2/21/2554

ประวัติอำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี





อำเภอบ้านหมอ               ในปี พ.ศ.2149 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยา มีการค้นพบรอยพระพุทธบาท พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยาได้เสด็จนมัสการพระพุทธบาท เป็นประจำปีสืบมาจนทุกรัชกาล โดยอาศัยเส้นทางที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งการสร้างถนนหลวงในสมัยนั้นต้องใช้แรงงานช้างเป็นจำนวนมาก เมื่อช้างเจ็บป่วย ได้นำตัวไปรักษาที่วัดโคกโดยหมอควาญช้างบริเวณนั้นจึงเรียกว่า "วัดโคกบ้านหมอ" ซึ่งเป็นที่มาของชื่อตำบลและอำเภอบ้านหมอในปัจจุบัน

แต่ก่อนนั้นมีตำแหน่งขุนโขลน เป็นผู้ดูแลรักษามณฑปพระพุทธบาท อยู่ที่ "เมืองพระพุทธบาท" ซึ่งเป็นเมืองจัตวาผู้ปกครองเมืองขึ้นตรงต่อเมืองสระบุรี แต่เนื่องจากบริเวณเมืองพระพุทธบาทระยะนั้น เกิดโรงระบาดเป็นไข้ป่า ใครไปอยู่ก็อยู่ได้ไม่นานก็ล้มตายต้องเปลี่ยนตำแหน่งขุนโขลนกันบ่อย ๆ จนใคร ๆ ก็ไม่กล้าเข้าไปอยู่กัน จึงต้องย้ายที่ว่าการอำเภอมาอยู่ที่ตำบลสะพานช้าง มาจนถึงรัชกาลที่ 5 จึงได้ย้ายที่ทำการจากตำบลบางโขมด (สะพานช้างเดิม) ไปตั้งที่ตำบลขุนโขลนเรียกว่า "ศาลาว่าการอำเภอพระพุทธบาท"

ปี พ.ศ.2445 มีการสร้างทางรถไฟไปถึงลพบุรี ตำบลหนองโดนก็มีทางรถไฟผ่าน ครั้นปี พ.ศ.2456  ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระพุทธบาทเกิดโรคห่าระบาดขึ้น จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอ ไปตั้งที่ตำบลหนองโดน เพื่อสะดวกต่อการคมนาคมในสมัยนั้น และเปลี่ยนชื่อเป็น "ที่ว่าการอำเภอหนองโดน" บ้านหมอและพระพุทธบาทก็กลายเป็นตำนานหนึ่งของอำเภอหนองโดน

ต่อมา พ.ศ.2464 มีการค้นพบดินขาวที่ใช้ผสมปูนซีเมนต์ได้ที่บ้านหมอ และมีการจ้างกรรมกรซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจีนขุด ขนส่งไปป้อนโรงงานที่บางซื่อ จากชุมชนเล็ก ๆ บ้านหมอ ก็ได้ขยายตัวจนเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้นตามลำดับ จนในปี พ.ศ.2484 บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ได้มาตั้งโรงงานที่ท่าลาน ตำบลบ้านครัวประกอบกับที่ว่าการอำเภอหนองโดนอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรม ทางราชการไม่มีงบประมาณซ่อมแซม หลวงพัฒน์  พงศ์พานิช (พ่อค้าคหบดีชาวจีน ต้นสกุล "ผู้พัฒน์") ได้สร้างที่ว่าการอำเภอให้ใหม่ที่ตำบลบ้านหมอ และย้ายอำเภอมาไว้ที่นี่ อำเภอใหม่จึงชื่อว่า "ที่ว่าการอำเภอบ้านหมอ) สืบมาจนปัจจุบัน ส่วนหนองโดนและพระพุทธบาทก็กลายเป็นตำบลของอำเภอบ้านหมอ และยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอในเวลาต่อมา



                         อำเภอเมือง 
                         พระพุทธบาท 
                       หนองแซง 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...