Blogger templates

11/12/2554

ลักษณะทางธรณีวิทยาจังหวัดกาญจนบุรี


v ลักษณะทางธรณีวิทยา


ที่มา โครงการศึกษาเบื้องต้นเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว จังหวัดกาญจนบุรี โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


            โครงสร้างส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นหินที่จัดอยู่ในหมู่หินตะนาวศรี ประกอบด้วย หินปูน หินทราย หินดินดาน และหินแปร ประเภทชนวน หินควอร์ตไซต์ หินซิสต์ ในบรรดาหินเหล่านี้ หินปูนจะพบอยู่เป็นบริเวณกว้างมากที่สุดของจังหวัด ทิวเขาถนนธงชัยกลางและทิวเขาตะนาวศรีมีหินแกรนิตในยุครีเทเซียสเป็นแกนกลางของภูเขาจะเห็นหินแกรนิตปรากฏอยู่ตามบริเวณที่หินซึ่งเคยปกคลุมอยู่จะพบหินในทรายและหินดานปนปูนในยุคแคมเบียน นอกจากนี้ยังมีหินอัคนีชนิดหินบะซอลต์ปรากฏอยู่ในบริเวณเล็ก ๆ ที่อำเภอบ่อพลอย ปัจจุบันเป็นแหล่งขุดพลอยที่สำคัญของจังหวัด
            จากโครงสร้างพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแบบ ภูเขาหินปูน (Karts Topography) กล่าวคือ บริเวณที่มีหินปูนรองรับเป็นบริเวณกว้าง มีอาณาเขตต่อเนื่องเข้าไปในจังหวัดราชบี ภูเขามียอดแหลมมีรูปร่างต่าง ๆ สวยงาม สลับด้วยหลุมยุบและหุบเขาเป็นแนวยาวและบางแห่งเป็นหน้าผาสูงชัน ในบริเวณภูเขาหินปูนจะมีเส้นทางน้ำไม่ต่อเนื่อง สายน้ำบางแห่งไหลเข้าไปในภูเขา หรือซึมหายไปลงสู่ใต้ดินซึ่งเป็นบริเวณหลุมยุบ เช่น บริเวณบึงเกริงกะเวียมีหลุมยุบที่ก้นบึ้งเป็นหินปูน นอกจากนี้บริเวณเขาหินปูนยังทำให้เกิดกระบวนการที่หินปูน ซึ่งแคลเซียมคาร์บอเนตละลายต่อเนื่องกันเป็นถ้ำยาว และบางแห่งยังมีน้ำไหลผ่านใต้ดิน เรียกว่า ธารลอด และภายในถ้ำหินปูนยังมีหินงอกและหินย้อยที่มีลักษณะสวยงาม ส่วนในบริเวณท้องน้ำที่เป็นน้ำตกจะมีหินปูนจับตามบริเวณที่พักน้ำเกิดเป็นน้ำตกที่มีลักษณะหลายชั้นลดหลั่นสวยงาม ส่วนใหญ่เป็นหินที่ไม่ลื่น เนื่องจากกระบวนการจับตัวของหินปูนเกิดขึ้นตลอดเวลา และน้ำที่มีหินปูนละลายอยู่เป็นสาเหตุทำให้น้ำกระด้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...