Blogger templates

4/10/2554

รูปแบบการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมแบบ Modern Language Association of America (MLA)

รูปแบบการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมแบบ Modern Language Association of America (MLA)
ของหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่


การเขียนอ้างอิง คือ การบอกแหล่งที่มาของข้อความที่ใช้อ้างอิง ในเนื้อหาที่นำมาเขียนเรียบเรียง
                1. การอ้างอิงแบบแทรกปนในเนื้อหา  ซึ่งมี 2 ระบบ (ส่งศรี ดีศรีแก้ว, 2534 : 78) คือ

1.1 ระบบนาม - ปี ( Author - date)
            ระบบนาม - ปี เป็นระบบที่มีชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า ที่อ้างอิงอยู่ภายในวงเล็บ ดังตัวอย่าง
                    (ชื่อผู้แต่ง.P/ปีที่พิมพ์P:Pเลขหน้าที่อ้างอิง)
ตัวอย่าง   (ส่งศรี ดีศรีแก้ว, 2534 : 78)

1.2  ระบบหมายเลข (Number System)  
                ระบบที่คล้ายคลึงกับระบบนาม - ปี แต่ระบบนี้จะใช้หมายเลขแทนชื่อผู้แต่งเอกสารอ้างอิง มีอยู่ 2 วิธี คือ
                                1.2.1 ให้หมายเลขตามลำดับของการอ้างอิง





1.2.2 ให้หมายเลขตามลำดับอักษรผู้แต่ง

การเขียนบรรณานุกรม คือ การเขียนอ้างอิงรายการของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดที่ผู้ทำรายงานได้ใช้ประกอบการเขียนรายงาน ทั้งที่ปรากฏชัดเจน  และส่วนที่ไม่ปรากฏชัดเจน แต่อาจเป็นเพียงการรวบรวมความคิดหลาย ๆ แนว แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่
                1. บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย              
ชื่อผู้แต่ง.PPชื่อเรื่อง.PP ครั้งที่พิมพ์. PP เมืองที่พิมพ์ P: P ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์,Pปีที่พิมพ์.
ตัวอย่าง กิตติกร  มีทรัพย์. จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ธุรกิจการพิมพ์, 2552.
                2. บรรณานุกรมหนังสือภาษาอังกฤษ
ชื่อผู้แต่งสกุล, ชื่อต้น ชื่อกลาง(ถ้ามี).PPชื่อเรื่อง.PPครั้งที่พิมพ์.PPเมืองที่พิมพ ์P:Pผู้รับผิดชอบพิมพ์, P
PPPPPPPปีที่พิมพ์.
ตัวอย่าง Hartley, Eric Key. Childhood and society. 2 nd ed. New York : Mc Graw – Hill, 1989.
                3. บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์
ชื่อผู้เขียน.PP ชื่อเรื่อง.PPระดับวิทยานิพนธ์.PPชื่อเมืองที่พิมพ์P:Pชื่อมหาวิทยาลัย,Pปีที่พิมพ์.

ตัวอย่าง ภัคพร  กอบพึ่งตน. การประเมินคุณภาพการพยาบาลผู้คลอดปกติในโรงพยาบาลนครพิงค์
                      จังหวัดเชียงใหม่.  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540.
                4. บรรณานุกรมบทความจากหนังสือ
ชื่อผู้เขียน.PP " ชื่อตอนหรือบทความ " P ใน P ชื่อหนังสือ. PP หน้า P เลขหน้า.PP
PPPPPPPชื่อบรรณาธิการ (ถ้ามี). PP เมืองที่พิมพ์ P:Pผู้รับผิดชอบในการพิมพ์, Pปีที่พิมพ์.
ตัวอย่าง   สมจิต   หนุเจริญกุล  และ  ประคอง  อินทรสมบัติ. "การประเมินผลการพยาบาล" ใน เอกสารการสอน
                        ชุดวิชามโนมติและกระบวนการพยาบาล หน่วยที่ 8-15. หน้า 749 - 781. มยุรา  กาญจนางกูร,
                        บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2536.

                5. บรรณานุกรมบทความจากวารสาร
ชื่อผู้เขียน.PP"ชื่อบทความ"Pชื่อวารสาร.PPปีที่หรือเล่มที่ (ฉบับที่)P:Pเลขหน้า;Pวัน (ถ้ามี)P เดือน / ปี.
ตัวอย่าง     วิทยาคม  ยาพิศาล. " การพัฒนาคุณภาพระบบงานศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ตามแนวทางการ
                          ตรวจติดตามทางวิชาการและระบบคุณภาพ" กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 46(3) : 142 – 153 ;
                          กรกฎาคม - กันยายน 2547.
                6. บรรณานุกรมคอลัมน์จากวารสาร
ชื่อผู้เขียน.PP"ชื่อคอลัมน์P:Pชื่อเรื่องในคอลัมน์"Pชื่อวารสาร.PPปีที่หรือเล่มที่(ฉบับที่)P:Pเลขหน้าP;  PPPPPPP วัน (ถ้ามี) P เดือน P ปี.
ตัวอย่าง     วิทยา  นาควัชระ. "คุยกันเรื่องของชีวิต : ประโยชน์ของการท่องเที่ยว" สกุลไทย. 40(2047) : 191 – 192 ;
                          26 ตุลาคม 2544.

                7.บรรณานุกรมคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์
ชื่อผู้เขียนบทความ.PP"ชื่อคอลัมน์P:Pชื่อเรื่องในคอลัมน์"Pชื่อหนังสือพิมพ์.PPวันPเดือนPปี.PP
PPPPPPPหน้าPเลขหน้า.
ตัวอย่าง     นิติภูมิ  เนาวรัตน์. "เปิดฟ้าส่องโลก : ตัวอย่างการอยู่ร่วมกัน : อียู" ไทยรัฐ. 5 มิถุนายน 2546. หน้า 2.
                8.บรรณานุกรมโสตทัศนวัสดุ
ชื่อผู้จัดทำ,Pหน้าที่ที่รับผิดชอบ.PPชื่อเรื่อง.PP[ลักษณะของโสตทัศนวัสดุ].PPชื่อเมืองP:P
PPPPPPPผู้รับผิดชอบในการจัดทำ, P ปีที่จัดทำ.
ตัวอย่าง     สายหยุด  นิยมวิภาต, ผู้บรรยาย. ประเด็นปัญหาการวิจัยทางการพยาบาลคลินิก.
                         [เทปโทรทัศน์]. ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2537.
9.บรรณานุกรมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
                                9.1 ฐานข้อมูล ซีดี – รอม
ผู้แต่ง.PPชื่อเรื่อง.PP [ประเภทของสื่อ]. PPรายละเอียดทางการพิมพ์(ถ้ามี). PPเข้าถึงได้จากP:P
PPPPPPPแหล่งสารสนเทศ.

ตัวอย่าง     นพรัตน์  เพชรพงษ์. จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรงพยาบาลพิจิตร.
                         [ซีดี - รอม]. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย เชียงใหม่,
                         2545. สาระสังเขปจาก : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย แผ่นที่ 3, 2547.

                                9.2 ฐานข้อมูลออนไลน์
ผู้แต่ง.PPชื่อเรื่อง.PP [ประเภทของสื่อ]. PPรายละเอียดทางการพิมพ์ (ถ้ามี).PPเข้าถึงได้จากP:P
PPPPPPPแหล่งสารสนเทศ.PP (วันที่ค้นข้อมูล P:Pวัน PเดือนPปี).
ตัวอย่าง     พิมลพรรณ  พิทยานุกูล. วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http : / /
                         www.lib.buu.ac.th. (วันที่ค้นข้อมูล : 16 กันยายน 2546).




***หมายเหตุ : สัญลักษณ์ P แทนการเคาะเว้น 1 วรรค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...