Blogger templates

11/12/2554

ทรัพยากรธรรมชาติจังหวัดกาญจนบุรี


v ทรัพยากรธรรมชาติ

จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายทั้งป่าไม้ แร่ธาตุ ดิน น้ำ ฯลฯ อย่างไรก็ตามความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรเหล่านี้ก็ย่อมมีวันหมดไปไม่วันใดก็วันหนึ่งหรือลดจำนวนลง  หากไม่มีการอนุรักษ์หรือนำมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า  การพัฒนาที่ดีต้องควบคู่ไปกับการดูแลรักษา การอนุรักษ์ โดยไม่นำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่นั้นมาสร้างผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มคนหรือนำมาใช้อย่างฟุ่มเฟือย

ทรัพยากรดิน   พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดกาญจนบุรีมีภูเขาสลับซับซ้อน  พื้นที่ที่เหมาะสำหรับเกษตรกรรมคือ  ที่ราบระหว่างภูเขาซึ่งมีแม่น้ำและลำน้ำสายต่างๆ ไหลผ่าน  เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีหินปูน  หินแกรนิต  หินแกรไนโอออไรท์  หินไนล์  หินดินดาน  หินควอทโซฟีลไลท์  เป็นวัตถุต้นกำเนิดดิน  ที่ราบระหว่างหุบเขาและสองฝั่งแม่น้ำจึงมีลักษณะเป็นตะกอนที่เกิดจากการสลายตัวของหินดังกล่าวแล้วถูกน้ำพัดพามาทับถม  และเนื่องจากพื้นที่ส่วนนี้มีหินปูนเป็นส่วนใหญ่  ดินจึงมีปฏิกิริยาเป็นกลางหรือเป็นด่าง  มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงดี  จึงเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชไร่ที่สำคัญของประเทศเช่น อ้อย  ข้าวโพด  มันสำปะหลัง และสับปะรด  ส่วนในบริเวณที่ราบต่ำใช้ปลูกข้าวแต่มีเนื้อที่ไม่มากนัก




ทรัพยากรน้ำ       จังหวัดกาญจนบุรีมีแหล่งน้ำที่สำคัญ 3 ประเภทคือ
น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล    ต้นกำเนิดของแหล่งน้ำบาดาลส่วนใหญ่มาจากน้ำฝนซึ่งตกสู่ผิวดินลงไปกับเก็บใต้ชั้นดิน  พื้นที่ทางตอนบนและทางตะวันตกของจังหวัดซึ่งมีสภาพเป็นที่สูงภูเขา  รองรับด้วยหินแปรปริมาณน้ำบาดาลจึงมีน้อยมาก  ส่วนพื้นที่ทางตะวันออกและทางใต้ของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่ม  มีแหล่งน้ำบาดาลสามารถนำขึ้นมาใช้ได้  แต่ยังคงมีปริมาณน้อย

น้ำผิวดิน  แหล่งน้ำผิวดินมีต้นน้ำอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดถึงเขตจังหวัดอุทัยธานี  ลักษณะทางน้ำเป็นร่องลึกในระหว่างหุบเขา  มีธารน้ำบางสายไหลขึ้นไปทางเหนือสู่ประเทศพม่า  แต่ลำธารส่วนใหญ่ไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อยและแควใหญ่  ก่อนจะรวมตัวกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง  ส่วนด้านตะวันออกมีลำตะเพินเป็นธารน้ำสำคัญของบริเวณนี้  แหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญ ได้แก่  แม่น้ำแควน้อย  แม่น้ำแควใหญ่(ศรีสวัสดิ์)  แม่น้ำแม่กลอง  แม่น้ำลำตะเพิน

น้ำจากการชลประทาน  จังหวัดกาญจนบุรีเป็นที่ตั้งของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่หลายแห่งเพื่อวัตถุประสงค์หลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า  แต่สิ่งที่ได้รับผลประโยชน์ตามมาคือการชลประทานที่สามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูก  เขื่อนที่สำคัญ เช่น เขื่อนศรีนครินทร์ในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์  เขื่อนเขาแหลมในอำเภอทองผาภูมิอำเภอสังขละบุรี  และเขื่อนวชิราลงกรณ์ในอำเภอท่าม่วง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...