Blogger templates

6/12/2553

สภาพธรณีสัณฐานจังหวัดเลย





สภาพธรณีสัณฐาน

                 จังหวัดเลย ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบสูง ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขายาวในแนวทิศเหนือใต้ โดยมีที่ราบลุ่ม ระหว่างหุบเขาขนาดไม่ใหญ่มากนัก สลับอยู่แนวเทือกเขาเหล่านั้น หิน ที่พบในบริเวณนี้ส่วน ใหญ่เป็นหินที่มีอายุมาก เช่น
หินแปรยุคไซลูเรียนดีโวเนียน อายุ 438-378 ล้านปี
หินปูนยุคดีโอเนียนตอนกลาง อายุ 380 ล้านปี
หินตะกอนและหินแปรชั้นต่ำ อายุ 360-280 ล้านปีของยุคคาร์บอนิเฟอรัส
หินปูนและหินดินดานยุคเพอร์เมียน อายุ 286-248 ล้านปี
หินตะกอนยุคไตรแอสซิก อายุ 220 ล้านปี

พบหินยุคโคราช บริเวณภูเขายอดราบอยู่บนหินเหล่านี้เช่น ภูผาจิต ภูกระดึง ภูหลวง ภูหอ ภูขัด ภูเมี่ยง(อำเภอนาแห้ว) เนื่องจากชั้นหินเกือบทั้งหมดวางอยู่แนวเหนือใต้ จึงควบคุมให้เกิดที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขา และทิศทางการไหลของแม่น้ำเป็นแนวเหนือใต้ด้วย แม่น้ำเลยจึงไหลจากใต้ขึ้นเหนือสภาพธรณีวิทยาหมวดหินที่พบในจังหวัดเลย มีรายละเอียดสังเขป ดังนี้

1. หมวดหินห้วยหินลาด (Huai Hin Lat Formation) พบบริเวณหินลาด กม.ที่ 109.5 บนถนนหมายเลข 201 ขอนแก่น- เลย ทิศใต้ของผานกเค้า อำเภอภูกระดึง ประกอบด้วยหินกรวดมนเนื้อปูน (Limestone Conglomerate) เป็นหินฐานและมีหินดินดาน หินทรายแป้งและหินแดง สลับกับหินดินดานและหินปูนสีเทา มีอายุประมาณยุคไทรแอสสิกตอนกลาง (Upper Triassic Period)

2. หมวดหินภูกระดึง (Phu Kra Dung Formation) หินแม่แบบที่เชิงเขาของภูกระดึง ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง ประกอบด้วยหินจำ พวกหินทราย เนื้อละเอียด และหินดินดานง่ายต่อการผุพังจึงทำให้สภาพภูมิประเทศที่ประกอบด้วยหินเหล่านี้เป็นที่ราย และมักจะเป็นฐานของสันเขาที่เกิดจากหน่วยหินพระวิหาร มีความหนาประมาณ 800 - 1,100 เมตร มีอายุประมาณยุคจูลาสิคตอนบน (Over Jurassic Period)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...