คำว่า " โบราณวัตถุ " นั้น ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๔ ได้ให้ความหมายไว้ใน มาตรา ๔ ว่า "
สังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตาม
ธรรมชาติหรือเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน ซากมนุษย์หรือซากสัตว์ ซึ่งโดยอายุ
หรือโดยลักษณะแห่งการประดิษฐ์หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์
นั้นเป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี "
ความหมายของคำว่า " โบราณวัตถุ " ข้างต้นมีส่วนที่คล้ายคลึงกับคำว่า
"โบราณสถาน" ตรงที่ว่า มุ่งเน้นไปที่ศาสตร์ ๓ แขนง คือ ศิลปะ ประวัติศาสตร์หรือ โบราณคดี
แต่ที่เห็นแตกต่างอย่างชัดเจนก็คือคำว่า " โบราณสถาน " นั้น กฎหมายกำหนดไว้ว่าเป็น
อสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ส่วนคำว่า " โบราณวัตถุ " นั้น กฎหมายกำหนดว่า
เป็นสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้นั่นเอง ดังนั้นของบางอย่างแม้ดั้งเดิมจะเคยเป็นส่วน
หนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน แต่เมื่อหลุดหรือแยกจากโบราณสถาน ก็อาจกลายเป็นโบราณวัตถุ
ได้
คำว่า " ศิลปวัตถุ " นั้น ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติโบราณสถาน
โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ได้ให้ความหมาย
ไว้ในมาตรา ๔ ว่า " สิ่งที่ทำขึ้นด้วยฝีมืออย่างประณีตและมีคุณค่าสูงในทางศิลปะ "
จากความหมายข้างต้น หากนำไปเปรียบเทียบกับคำว่า " โบราณวัตถุ " แล้ว จะเห็นว่า
คำว่า " ศิลปวัตถุ " มิได้กำหนดว่าเป็นของโบราณ ดังนั้นสิ่งที่ทำขึ้นใหม่ ก็อาจเป็นศิลปวัตถุได้
หากมีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนดคือทำด้วยฝีมืออย่างประณีตและมีคุณค่าสูงในทางศิลปะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น