ก.โบราณสถาน
๑. ความหมายของคำว่า “โบราณสถาน”
คำว่า " โบราณสถาน " นั้น ตามพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ พ.ศ.๒๕๐๔ แก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ให้ความหมายไว้ในมาตรา ๔ ว่า
"อสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้างหรือ โดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของ
อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทางศิลปประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี ทั้งนี้ ให้รวมถึงสถานที่
ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย "
จากความหมายดังกล่าวข้างต้น การที่จะถือว่าสิ่งใดเป็นโบราณสถานจะต้อง
ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑) ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์
ความหมายคำว่า " อสังหาริมทรัพย์ "ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๑๐๐ ว่า "อสังหาริมทรัพย์ได้แก่ ที่ดินกับทรัพย์อันติดกับที่ดินนั้น หรือประกอบเป็นอันเดียวกับ
ที่ดินนั้นอนึ่งคำว่าอสังหาริมทรัพย์ท่านหมายรวมถึงสิทธิทั้งหลาย อันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ด้วย " ดังนั้น จึงพออธิบายความหมายของคำว่า " อสังหาริมทรัพย์ " ว่าได้แก่ทรัพย์ดังต่อไปนี้
- ที่ดิน ทั้งที่เป็นที่ดินที่เจ้าของมีกรรมสิทธิ์ เช่น ที่ดินมีโฉนด โฉนดแผนที่ โฉนด
ตราจอง และยังรวมถึง ที่ดินที่มีผู้มีสิทธิครอบครอง เช่น ที่ดินที่มี ส.ค.๑ น.ศ.๓ น.ศ.๓ ก. เป็นต้น
- ทรัพย์อันติดกับที่ดิน ได้แก่
- ทรัพย์ที่เกิดหรือติดกับที่ดินโดยธรรมชาติ เช่นไม้ยืนต้น
- ทรัพยท์ ี่ติดกับที่ดินโดยมีผู้นำมาติด เช่น ตึก อนุสาวรีย ์เจดีย์ เป็นต้น
- ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน เช่น แม่น้ำลำคลองเป็นต้น
- สิทธิอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ
- สิทธิเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยตรง เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง
สิทธิใช้สอย และได้มาซึ่งดอกผล สิทธิที่จะจำหน่าย หรือโอนสิทธิที่จะติดตามทวงคืนจากผู้ไม่มี
สิทธิจะยึดถือไว้ เป็นต้น
- สิทธิเกี่ยวกับกรรมสิทธิที่ดินโดยอ้อมเป็นสิทธิซึ่งไม่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ
ที่ดินโดยตรงแต่เป็นสิทธิที่เกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ อย่างอื่นซึ่งติดอยู่กับที่ดินอีกทอดหนึ่ง
(๒) โดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของ
อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี
องค์ประกอบใน (๒) นี้ จะต้องพิจารณาถึงหลักการสำคัญอย่างหนึ่งอย่างใดใน
๓ ประการคือ
(๒.๑) อายุของอสังหาริมทรัพย์
(๒.๒) ลักษณะการก่อสร้างของอสังหาริมทรัพย์
(๒.๓) หลักฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของอสังหาริมทรัพย์
ทั้งนี้ จะต้องเป็นประโยชน์ต่อศาสตร์แขนงหนึ่งแขนงใดใน ๓ แขนงนี้ คือ ศิลปะ
ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น