Blogger templates

2/20/2554

ประวัติวัดภคินีนาฏ (วัดภคินีนาถวรวิหาร) บางพลัด

วัดภคินีนาฏ ได้เป็นวัดชนิดวรวิหาร เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2458 ซึ่งระบุใน “ประกาศกระทรวงธรมการ  แผนกกรมสังฆการี  เรื่องจัดระเบียบพระอารามหลวง” (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ .เอกสารรัชกาลที่ 6 กระทรวงนครบาล เรื่องที่ 2 ร.6 39.4 เอกสารไมโครฟิล์ม ม-ร.6 น/282  เอกสารโต้ตอบกระทรวงธรรมการ(ศาสนา) พ.ศ. 2453- 2468)

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้มีกฐินพระราชทานยังวัดภคินีนาฏ  โดยมีเนื้อหาใน เรื่อง”พระกฐินพระราชทาน” (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ .เอกสารรัชกาลที่ 6 กระทรวงนครบาล  ร.6 39.4/20 เอกสารไมโครฟิล์ม ม-ร.6 น/282  เอกสารโต้ตอบกระทรวงธรรมการ(ศาสนา) พ.ศ. 2453- 2468) ดังนี้
 “วัดภคินีนาฏ  พระราชทาน  หม่อมเจ้าเณร ในพระบรมวงศ์เธอ ชั้นกรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ”


ประวัติวัดภคินีนาถ  วรวิหาร
โดย
พระราชมงคลมุนี (เงิน  สุทนฺโต)
        
         ชื่อวัดโดยทางราชการ  วัดภคินีนาถ  วรวิหาร  ชื่อที่ชาวบ้านเรียก  วัดบางจาก  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๒๐๐  พระราชทานวิสุงคามสีมา  พ.ศ. ๒๓๒๕  เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี  ชนิด วรวิหาร  ประเภท  มหานิกาย  อยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ (ปัจจุบัน) แขวง
บางพลัด-บางอ้อเขต ๑ เขตบางพลัด  กรุงเทพมหานคร  ภาค ๑

ตำแหน่งที่ตั้งวัด
         เลขที่  ๒๙๕  แขวงบางพลัด  เขตบางพลัด  กรุงเทพมหานคร  บริเวณใกล้เคียง
         ทิศเหนือ  ติดต่อกับถนน  (เดิมเป็นคันคู) ยาวประมาณ ๗๒ วา
         ทิศใต้   ติดต่อกับคลองบางจาก  ยาวประมาณ ๗๒  วา
         ทิศตะวันออก  ติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา  ยาวประมาณ  ๑๕๐ วา
         ทิศตะวันตก  ติดต่อกับคันคู  ยาวประมาณ  ๑๕๐ วา

ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของบริเวณที่ตั้งวัด
            เมื่อเทียบกับวัดใกล้เคียงที่ติดกับลำน้ำเจ้าพระยาแล้ว  เห็นได้ชัดว่า  เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ลุ่มกว่าวัดอื่น  ฤดูน้ำ ฤดูฝน  ลานวัดเจิ่งนองด้วยน้ำ  โอกาสแห้งมีไม่กี่เดือน  งานวัดที่จะมีประชาชนไปร่วมงานมาก ๆ เช่น งานกฐิน  เป็นต้น  จึงไม่สะดวก  ผู้ปกครองคงจะรู้สึกเช่นนี้เป็นส่วนมาก  จึงพยายามถมพื้นที่วัดกันมาหลายยุคหลายสมัย
จากหลักฐานและการบอกเล่า  ใช้ทรายถมบ้าง  ขี้แกลบบ้าง  ขี้เลื่อยบ้าง  ตามแต่จะหาได้
และตามกำลังของสมภารแต่ละยุค   แต่เพราะเหตุที่บริเวณวัด  กว้างขวางมาก  และการลำเลียงวัสดุที่จะถม  ซึ่งอาศัยแต่ทางน้ำทางเดียวไม่สู้สะดวกจึงอยู่ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป  จึงไม่ดอนเท่าที่ควร  มาถมกันอย่างจริงก็เมื่อมีถนนเข้าถึงวัดแล้ว
อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินของวัด
         ๑. จำนวนเนื้อที่ตั้งวัดที่แขวงบางพลัด  เขตบางกอกน้อย  กรุงเทพมหานคร  มีเนื้อที่ตามสำรวจเดิม  ๒๖ ไร่ ๓ งาน ๔๔  ตารางวา แต่รางวัดเพื่อออกโฉนด  เมื่อ พ.ศ.             ๒๕๒๙  ได้เนื้อที่ ๒๘ ไร่ ๓ งาน  ๙๖  ตารางวา  โฉนดเลขที่  ๑๑๖๖๓๗  เล่ม  ๑๑๖๗  หน้า  ๑๘  อ.บางกอกน้อย  จ. กรุงเทพมหานคร
         ๒. ที่ธรณีสงฆ์  ที่แขวงบางพลัด  เขตบางกอกน้อย  กรุงเทพมหานคร  มีเนื้อที่ทั้งสิ้น  ๑๑  ไร่  โฉนดเลขที่  ๒ น.๑  เลขที่ ๓๓๕ ตำบลบางพลู  อำเภอบางกอกน้อย  โฉนด ๘๑๙  สารบัญเล่มที่ ๙  หน้า ๑๙

                        


ความสำคัญของวัด
         ๑.  เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี  ชนิด  วรวิหาร
         ๒.  เป็นวัดเจ้าคณะแขวงบางพลัด-บางอ้อ  เขต ๑
         ๓.  เป็นที่ตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม  ในแขวงบางพลัด-บางอ้อ เขต ๑
         ๔.  เป็นวัดที่มีปูชนียวัตถุ  และถาวรวัตถุที่สำคัญทางโบราณคดี  รัชกาลที่    รัชกาลที ๒   รัชกาลที่ ๓

นามวัด  ผู้สร้างวัด  และผู้ปฏิสังขรณ์
         วัดภคินีนาถ  วรวิหาร  เป็นวัดโบราณมีมาก่อนกรุงรัตนโกสินทร์  เดิมมีชื่อว่า  “วัดบางจากเพราะตั้งอยู่ปากคลองบางจาก  ชาวบ้านย่านนั้นมักจะเรียกว่า  “วัดนอกเพราะคู่กับวัดใน  คือ วัดเปาโรหิตย์  วัดทอง  และวัดสิงห์  ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ  พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดภคินีนาถ”  โดยมีฐานะศักดิ์เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี  ชนิดวรวิหาร  นักปราชญ์ทางโบราณคดี  สันนิษฐานจากวัตถุที่ยังคงเหลืออยู่  คือวิหาร  เป็นวัดที่สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย
         

ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมหลวงเทพยวดี         พระราชธิดาองค์น้อยของรัชกาล ที่ ๑  ทรงสถาปนาใหม่  สร้างเสร็จแต่พระอุโบสถหลังเดียว    หมื่นพินิจพลภักดิ์ (ชิด  พงษ์จินดา)  เล่าว่ามีการเปรียญอีกหลังหนึ่ง อยู่ด้านเหนือของกุฏิตำหนักชำรุดและรื้อสมัย  พระครูวิสุทธิสังวร (ผ่อง)  แล้วปลูกใหม่ยื่นออกไปทางทิศตะวันออก  อันเป็นที่งอกริมแม่น้ำ  คือ  การเปรียญหลังปัจจุบันนี้  ซึ่งก็ทรุดโทรมใช้ไม่ได้แต่ยังไม่รื้อแล้วเปลี่ยนอุโบสถหลังเดิมเป็นวิหารคือหลังที่ยังอยู่ในขณะนี้ ใช้พระอุโบสถหลังใหม่ตั่ง แต่นั้นมาการสถาปนาและทรงสร้างพระอุโบสถในครั้งนั้น  มีขนาดยาว ๑ เส้น ๘ วา ๒ ศอก พระประธาน  หน้าตักกว้าง ๕ ศอก  สูง ๗ ศอก  พระอุโบสถมีพระระเบียง (วิหารคต) รอบพระอุโบสถ  พระระเบียงสร้างยกฐานขึ้นเป็นอาสนสงฆ์โดยรอบ  เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป ๘๐ องค์  มีผู้สันนิษฐานกันว่า  พระอุโบสถหลังนี้น่าจะสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑  บางท่านว่าน่าจะป็นรัชกาลที่ ๒  และบางท่านว่าควรจะเริ่มในรัชกาลที่ ๑  แล้วมาเสร็จในรัชกาลที่ ๒  ข้าพเจ้าเห็นว่าน่าจะเป็นได้ทั้ง ๓ อย่าง  จึงขอนำประวัติสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพระองค์นั้น  มากล่าวไว้ในที่นี้เพื่อผู้อ่านสันนิษฐานเอาเอง สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมหลวงเทพยวดี  มีพระประสูติกาล  พ.ศ. ๒๓๒๐  ปีระกา  เป็นที่ ๑๐ ในรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี  พระนามเดิมว่า เอี้ยงหรือ นกเอี้ยง”  พระชนมายุได้    พรรษา  บิดาปราบดาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงประภาวดี หรือประไพวดี  ต่อมาทรงกรมฯ เป็นกรมขุนและกรมหลวงเทพยวดีโดยลำดับ  ทรงมีพระชนม์ในรัชกาลที่หนึ่ง ๒๗ ปี  ในรัชกาลที่ สอง ๑๔ ปี  สิ้นพระชนม์ก่อนรัชกาลที่สอง ๑ ปี  ตามพระราชพงศาวดารกล่าวว่า  ถวายพระเพลิงเสร็จในปีนั้นรัชกาลที่     ก็ประชวนสวรรคตในปีพ.ศ.  ๒๓๖๗  เป็นเวลาเข้าพรรษาแล้ว  ๑๑ วันเปลี่ยนแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชสมบัติ พอออกพรรษาเสด็จพระราชดำเนินทอดกฐินวัดบางจากมีรับสั่งให้รื้อพระตำหนักของสมเด็จกรมหลวงเทพยวดีมาปลูกเป็นกุฏิเจ้าอาวาส  และให้เปลี่ยนนามวัดบางจาก เป็นวัดภคินีนาถ(เดิมเขียน เป็น วัดภคินีนาฏ)เมื่อรัชกาลที่    สวรรคต  สมเด็จฯ  มีพระชนม์  ๓๒  โดยปี  และในรัชกาลที่    อีก๑๒ปี พระองค์มีพระชนม์  ๔๗  พรรษา  เนื่องด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าหญิง  กรมหลวงเทพยวดี  ไม่มีพระโอรสพระธิดาจะสืบวงศ์สกุล  เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว  จึงเท่ากับขาดทายาทที่จะรับเป็นพระภาระสืบต่ออย่างแข็งขัน  จึงตกเป็นภาระของเจ้าอาวาสแต่ละองค์  คอยชักชวนแนะนำ  พระเณร  ทายกทายิกาให้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์กันเป็นส่วนใหญ่  ตกลงว่าวัดภคินีนาถ  คงจะขึ้นๆ ลงๆ  ไปตามความสามารถและความเอาใจใส่ของเจ้าอาวาสแต่ละองค์  สรุปได้ว่า วัดภคินีนาถ วรวิหาร  สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมหลวงเทพยวดี  ทรงสถาปนาแน่นอน  สำหรับผู้ปฏิสังขรณ์ตามที่กล่าวมาแล้วถือว่า  เป็นไปในรัชกาลที่ ๑ ที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ส่วนที่จะกล่าวต่อไป  จะเริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ ๔  และก็คงกล่าวเพียงย่อ ๆ
         


รัชกาลที่ ๔       
ในสมัย  พระประสิทธิสุตคุณ (นาค)  เป็นเจ้าอาวาส ได้บูรณปฏิสังขรณ์ ดังนี้
       ๑. แปลงตำหนัก (หอสวดมนต์) เป็นกุฏิธรรมดา ให้เป็นที่พำนักอาศัยของพระสงฆ์
        ๒.เจ้าจอมมารดาห่วงในรัชกาลที่๔ได้ปฏิสังขรณ์พระวิหารจนอยู่ในสภาพเรียบร้อยต่อมาในสมัย พระวิสุทธิสมาจาร
(ฉัตร)เป็นเจ้าอาวส ได้ปฏิสังขรณ์มุขพระระเบียงพระอุโบสถด้านหน้าให้มีสภาพดีขึ้น ด้วยของเก่าที่เริ่มชำรุด


รัชกาลที่ 
         ในสมัย  พระครูวิสุทธิสังวร (ผ่อง) เป็นเจ้าอาวาส  ได้ก่อสร้าง  และปฏิสังขรณ์ ดังนี้
         ๑.  รื้อการเปรียญหลังเก่า  ไม่ทราบแน่ว่าสร้างในสมัยใด  ปลูกอยู่ด้านเหนือขนานเป็นแนว  กับกุฏิตำหนักแล้วสร้างขึ้นใหม่เยื้องไปด้านทิศตะวันออกตามพื้นดินที่งอก  ยาว    ห้อง  กว้าง    ห้อง  มุงกระเบื้องดินทราย  และสร้างศาลาขวางทางด้านทิศตะวันออกและด้านทิศตะวันตกรวม ๓ หลัง  ศาลาการเปรียญหลังนี้  ขณะนี้อยู่ในสภาพทรุดโทรมมากเพราะถูกน้ำเซาะ

         ๒.  โรงเรียนหนังสือไทย  ยาว  ๑๐ วาเศษ  มุงกระเบื้องซีเมนต์ฝากรุด้วยไม้กระดานตะแบกรื้อหมดแล้ว
         ๓.   ซ่อมศาลาเก๋งคู่ใหญ่   หน้าพระอุโบสถ  เปลี่ยนหลังคามุงกระเบื้องซีเมนต์ทั้ง    หลัง
         ๔.   สร้างถนนแถวข้างกุฏิ  สูง    ศอก  ยาว    เส้น
         ๕.   โรงเรียนพระปริยัติธรรม  อยู่ระหว่างกุฏิ  กว้าง    วา  ยาว    วา  มุงกระเบื้องซีเมนต์เรียกในสมัยต่อมาว่า  “หอฉันพระ”   รื้อหมดแล้ว
         ๖.   พระภิกษุเภา  ปฏิสังขรณ์สระหลังพระวิหาร  ก่ออิฐถือปูนตั้งแต่เชิงเขื่อนด้านบน


                                           รัชกาลที่ 
ในสมัยพระธรรมถาวร (เซ่ง)  เป็นเจ้าอาวาส  ได้ก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ดังตามที่จัดไว้เดิมต่อไปนี้
         ๑.   พระอุโบสถ  บานหน้าต่าง  เขียนลายรดน้ำ  ซุ้มลงรักปิดทองประดับกระจก  ผนังด้านนอกกะเทาะปูนเก่าออก  ฉาบปูนใหม่  ผนังด้านใน  จ้างช่างเขียน  ซ่อมแซมลายที่ลอกชำรุด   ซ่อมแซมหลังคา  คันทวย  ช่อฟ้าใบระกาทำใหม่  ลงรัก  ปิดทอง   ประดับกระจก  พื้นพระอุโบสถเทคอนกรีตให้เต็มเสมอกัน  ยกอาสน์สงฆ์ต่อเป็นเตียงไม้สูง    ศอก  สำหรับพระสงฆ์ทำสังฆกรรม  พาไลหน้าและหลังภายในกำแพงแก้ว  เทคอนกรีต ลานภายนอกพระอุโบสถยกพื้นสูง    คืบ  เทคอนกรีตทั้ง    ด้าน  ทุนทรัพย์ที่ใช้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถนี้เป็นของวัดบ้างของชาวบ้านบ้าง  เงินพระราชอุทิศของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวบ้าง  สำหรับเงินพระราชอุทิศวัดภคินีนาถ  ได้รับปีละ  ,๐๐๐.๐๐  (สองพันบาทถ้วน)  จนกว่าการบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามจะเสร็จ  แต่ได้รับมาเพียง    ปี  ( พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๔๖๗ )  พระเจ้าวรวงศ์เธอ  กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์  สมเด็จพระสังฆราชเจ้า  วัดราชบพิธโปรดให้งดจ่ายเสีย  การปฏิสังขรณ์จึงค้างอยู่
        ๒.  พระระเบียง  เปลี่ยนตัวไม้หลังคาเกือบทั้งหมด  เปลี่ยนกระเบื้องใหม่  กะเทาะผนังฉาบปูนใหม่  เปลี่ยนเสาในพระระเบียงพื้นล่างยกพื้นเทคอนกรีต  ส่วนพระพุทธรูปรายรอบพระระเบียงได้มีผู้ศรัทธา  เช่น  สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส  หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ไชยันต์   พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าพร้อมพงษ์อธิราช  เป็นต้น  รับบูรณปฏิสังขรณ์รวม  ๒๘  องค์
         ๓.  กุฏิเสนาสนะ   ได้บูรณปฏิสังขรณ์เกือบทั้งหมด  โดยรื้อปลูกใหม่เป็นระเบียงบ้างเปลี่ยนหลังคาเป็นมุงกระเบื้องใหม่บ้างจนมีกุฏิเสนาสนะ  รวม  ๑๗ หลัง
         ๔.  หอระฆังเครื่องไม้สี่เสา  มุงกระเบื้องดินทราย  มีช่อฟ้าใบระกา  (รื้อแล้วสร้างใหม่สมัยพระครูอุปการประชากิจ)
         ๕.  ถนน  ได้สร้างและปฏิสังขรณ์ถนน    สาย  ให้เชื่อมตลอดขนาดสูง ๑ ศอก  ยาว ๘ เส้น ( ตั้งแต่  พ.ศ. ๒๕๐๗  เป็นต้นมา  ถนนของวัดได้ซ่อมใหม่หมด  เว้นแต่สายหน้าพระอุโบสถลงท่าน้ำที่เรียกว่าถนนฉนวนสายเดียวเท่านั้น  ถนนที่ซ่อมแล้วก็เริ่มชำรุด  เพราะปัจจุบันไม่ได้ใช้เป็นทางเท้าอย่างเดียว  รถยนต์อาศัยใช้ด้วย  จึงชำรุดเร็ว)
        ๖. การจัดประโยชน์ของวัด ได้จัดที่ดินรกร้างว่างเปล่า ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกให้ประชาชนปลูกบ้านอาศัยอยู่  เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่วัด  (มอบให้กรมการศาสนาเป็นตัวแทนจัดประโยชน์
รัชกาลที่    และรัชกาลปัจจุบัน
ในสมัย  พระครูวิริยกิจโกศล (ฤทธิ์)  เป็นเจ้าอาวาส  ได้ปรับปรุงแก้ไขหอฉัน (พระ) เป็นศาลามีช่อฟ้าใบระกา เพื่อใช้เป็นหอฉันและพระสวดมนต์  และได้เปลี่ยนเป็นหอฉัน (สามเณร) เป็นกุฏิโถงทรงมลิลา เพื่อใช้เป็นที่พักของพระอาคันตุกะ  ซึ่งยังใช้อยู่ในปัจจุบัน
ในสมัย  พระครูอุปการประชากิจ  (หงษ์)  เป็นเจ้าอาวาส  ได้ปฏิสังขรณ์  ดังนี้
         ๑.  รื้อกุฏิแพสีเขียว   สร้างเป็นกุฏิ  เรียกว่า " กุฏิ  ๒๕๐๐ " เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก  มีห้องน้ำห้องส้วมพร้อม
         ๒.  หม่อมละมัย  สนิทวงศ์  ในพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพร้อมพงษ์อธิราช  สร้างกุฏิตึก    ชั้น  ชั้นบนเป็นที่พำนักอาศัยของพระภิกษุสามเณร    ห้อง  เป็นที่บรรจุหม่อมละมัย ๑ ห้อง  ชั้นล่างโล่งตลอด
         ๓.  หอระฆัง  เป็นคอนกรีต  หลังคาทรงจัตุรมุข  มุงกระเบื้องเคลือบ  มีช่อฟ้าใบระกาลงรักปิดทอง  ประดับกระจก

ในสมัย  พระราชมงคลมุนี (เงิน  สุทนฺโต)  เป็นเจ้าอาวาส  ได้ปฏิสงขรณ์มีรายการสำคัญ  ดังนี้
         ๑.  พ.ศ. ๒๕๐๗  ซ่อมกุฏิตำหนัก   ซึ่งทรุดโทรมมาก  ได้เขยิบให้สูงกว่าเดิม    เมตรเศษถมใต้ถุนและเทปูน  เปิดช่องลมคอสอง  (เดิมไม่มี) และเปลี่ยนกระเบื้องดินทรายเป็นมุงด้วยกระเบื้องเคลือบ     ผู้มีศรัทธาบริจาคทรัพย์ในการนี้   คือ นางขลิบ  คร้ามภัย  ๑๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท    (หนึ่งแสนบาทถ้วน)  และนาวาอากาศเอก  สละ  มีลักษณะ  ผู้อำนวยการกองอนุศาสนาจารย์  ทหารอากาศ  บริจาคร่วมกุศลอีก ๑๐,๐๐๐.๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)  ยังไม่เสร็จ  มาบูรณะเสร็จดังที่เห็นต่อภายหลัง
         ๒.  พ.ศ. ๒๕๐๗  ซ่อมชุกชีพระประธานในพระอุโบสถ  นายเถลิง  เหล่าจินดา  ผู้จัดการใหญ่  บริษัทสุรามหาคุณ  จำกัด  ได้รับพระราชทานผ้าพระกฐินมาถวาย  และถวายปัจจัย  ๔๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน)  เจ้าอาวาสเห็นว่าชุกชีพระประธานและพระอัครสาวกในพระอุโบสถชำรุดมากจึงได้นำเงินจำนวนนั้น  และเงินของคณะทายกทายิกา
ประจำวัด  ไปบูรณปฏิสังขรณ์ชุกชีพระประธานและพระอัครสาวกสิ้นเงิน        ๖๐,๐๐๐.๐๐ บาท(หกหมื่นบาทถ้วน)  และมาซ่อมใหม่หมดอีกครั้ง  เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕
        ๓.  พ.ศ. ๒๕๐๗  ถมบริเวณวัด  เนื่องจากวัดภคินีนาถ วรวิหาร เป็นวัดลุ่ม  น้ำท่วมขังในฤดูน้ำ   อดีตเจ้าอาวาสได้พยายามที่จะถมพื้นให้สูงขึ้นดังกล่าวแล้วข้างต้น  แต่ยังไม่เรียบร้อยตามโครงการเพราะขาดทุนทรัพย์และอุปกรณ์  จึงเป็นวัดครึ่งบกครึ่งน้ำมาตลอด  จนถึงสมัยท่าน  พระราชมงคลมุนี (เงิน สุทนฺโต)  เป็นเจ้าอาวาส  มีศิษย์รุ่นเดียวกัน  ชื่อนายหยด  ไทรฟัก  มีอาชีพค้าขาย  ได้เสนอขายทรายในราคาถูกคือ  คิวละ ๑๐.๐๐ บาท และค่ากรรมกรคิวละ  ๖.๐๐ บาท  ทางวัดจึงได้ตกลงซื้อถมสี่พันคิว  โดยอาศัยเงินยืมจาก  นางขลิบ  คร้ามภัย  จำนวน ๔๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน)  และเงินบริจาคของผู้มีศรัทธาอื่นๆ อีก  ต่อมาทางวัดซื้อทรายมาถมเองและยืมรถบรรทุกของบริษัท  สกุลชัย  จำกัด  และจากที่อื่นๆ  ตลอดจนแรงงานของ  พระภิกษุสามเณร และศิษย์วัด  ช่วยกันขนเศษอิฐหัก กากปูน  จากวัดสุทัศนเทพวราราม  และวัดพระเชตุพนฯ มาถมอีก  ทั้งเปิดโอกาสให้บริษัทก่อสร้าง  นำเศษอิฐหัก  กากปูนมาเท  และในพ.ศ.๒๕๒๑ ทางวัดได้อนุญาตให้กรุงเทพมหานคร ขนโคลนเลนจากการขุดลอกคูคลองมาเทถมอีกขณะนี้เป็น
ที่ดอนพอจะพ้นน้ำเป็นบางแห่ง
       ๔.  พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๒๒  บูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปภายในพระระเบียงวิหารคต  เนื่องจากพระพุทธรูปปูนภายในพระระเบียงชำรุดมาก  จึงมีผู้ศรัทธาช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์จำนวนกว่า  ๒๐  องค์  ค่าบูรณปฏิสังขรณ์ตั้งแต่องค์ละ ๒,๕๐๐.๐๐ บาท  ถึง ๑๘,๐๐๐.๐๐ บาท  (หนึ่งหมื่นแปดพันบาทถ้วน  พ.ศ. ๒๕๒๔)  ขณะนี้        พ.ศ.๒๕๓๖  ช่างคิดราคาซ่อมองค์ละ ๒๒,๐๐๐.๐๐ บาท (สองหมื่นสองพันบาทถ้วน)
         ๕.  พ.ศ. ๒๕๐๘  ถนนวัดภคินีนาถ  วรวิหาร ในสมัยก่อน  วัดภคินีนาถ จะติดต่อกับภายนอกได้ทางแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางจากเท่านั้น  ต่อมาทางราชการสร้างสะพานกรุงธน (ซังฮี้)  ขึ้นด้านทิศเหนือของวัดห่างประมาณ ๒๐๐ เมตร  ชาวบ้านจึงหันมาใช้รถยนต์แทนเรือ  เพื่อสะดวกในทางสัญจรไปมา  ทางวัดจึงขออนุญาตตัดถนน  จากเชิงสะพานกรุงธนมาถึงบริเวณวัด
๖.  พ.ศ. ๒๕๑๐  กำแพงวัด  วัดภคินีนาถ วรวิหาร  มีโครงการสร้างกำแพงวัดให้ตลอด  เพื่อแยกเขตวัดกับเขตบ้านให้เป็นสัดส่วน  และแยกเขตพุทธาวาสกับสังฆาวาสให้เป็นคนละส่วน  เริ่มก่อสร้างมาหลายปีแต่ยังไม่เสร็จ  ขณะนี้   (พ.ศ.๒๕๒๔)  สร้างไปได้เกินครึ่งแล้วและได้ทำต่อๆ มาจนเสร็จ ๓ ด้านแล้ว  ขณะนี้กำลังทำด้านคลองบางจาก (ปัจจุบันนี้เสร็จหมดทุกด้านแล้ว ๒๕๕๐)
         ๗.  พ.ศ. ๒๕๑๔   สร้างกุฏิ อภัย อุไร  ชะมุนี  เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น  ชั้นบนมี ๓ห้อง  ชั้นล่างโปร่งเช่นเดียวกับกุฏิหม่อมละมัย  สนิทวงศ์  ตั้งอยู่แถวเหนือ   ต่อจากกุฏิ หม่อมละมัยทางด้านทิศตะวันตกผู้มีศรัทธาสร้างกุฏิหลังนี้ คือ ศาสตราจารย์  นายแพทย์อภัย  ชะมุนี  บุตรเขยของหม่อมละมัยสนิทวงศ์
         ๘.  พ.ศ. ๒๕๑๕  กุฏิครึ่งตึกครึ่งไม้ ได้สร้างกุฏิชั้นเดียวมี ๔ ห้อง  สะกัดด้านใต้ของกุฏิตำหนัก  หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ  เพื่อใช้เป็นคลังเก็บพัสดุ  กุฏิหลังนี้สร้างด้วยทุนทรัพย์ของวัด  สิ้นเงินประมาณ ๒๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)
         ๙.  พ.ศ. ๒๕๑๕  กุฏิประพัฒน์ทอง  เป็นอาคารทรงครึ่งตึกครึ่งไม้  ชั้นล่างทึบ  ชั้นบนกั้นเป็น ๒ ห้อง  มีลูกกรงและป้อมบันไดหลังคามุงกระเบื้องลอน  ผู้มีศรัทธาสร้างกฏิหลังนี้ คือ นาวาอากาศเอก (พิเศษ) แย้ม  ประพัฒน์ทอง  โดยปรารภว่า  เมื่ออยู่ในเพศสมณะ  ได้อาศัยกุฏิไม้สักทรงไทยฝาลูกประกนซึ่งสร้างมานาน  หลังจากลาสิกขาแล้วกุฏิหลังนั้นทรุดโทรมเกินกำลังที่จะซ่อมแซมจำเป็นต้องรื้อและสร้างกุฏิประพัฒน์ทองขึ้นแทน  ในการนี้วัดได้ออกเงินสมทบด้วยอีกส่วนหนึ่ง  กุฏิประพัฒน์ทองสิ้นเงินค่าก่อสร้าง  ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)
         ๑๐.  พ.ศ. ๒๕๑๖ กุฏิเสงี่ยมสังวาลย์  กาญจนกุญชร  เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้   ๒  ชั้น  ชั้นบนมี  ๓ห้อง  ชั้นล่างทึบ  สกัดด้านทิศหนือของกุฏิตำหนัก  กุฏิหลังนี้เดิมเป็นบ้านของ  นายเสงี่ยม  กาญจนกุญชร  ซึ่งเป็นตระกูลคหบดีอยู่ที่ย่านบางจากนี้มาแต่เก่าตระกูลหนึ่ง  และได้อุปการะวัดภคินีนาถมาตลอด  เมื่อนายเสงี่ยม  นางสังวาลย์   กาญจนกุญชร  ถึงแก่กรรมแล้ว  ทายาทจึงถวายวัดพร้อมกับค่ารื้อถอน           วัดภคินีนาถมีทุนและช่างอยู่แล้ว  จึงสร้างเป็นอนุสรณ์ให้เจ้าภาพ  หลังจากเสร็จเรียบร้อยแล้ว  เจ้าภาพได้บริจาคสมทบทุนอีก ๑๐,๐๐๐.๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)  และสิ่งต่าง ๆ ให้  เช่น  แท็งค์น้ำ  เป็นต้น.
      ๑๑.  พ.ศ. ๒๕๒๐  กุฏิลำใย  บางยี่ขัน  เป็นอาคารที่มีลักษณะเดียวกันกับกุฏิประพัฒน์ทอง  เพราะเป็นแบบแปลนของวัดภคินีนาถและสร้างอยู่ในแถวเดียวกัน  ผู้มีศรัทธาสร้างกุฏิหลังนี้  คือ  นางลำใย  บางยี่ขัน  ภริยา  ร.ต.ท.โชติ  บางยี่ขัน (อดีต พระใบฎีกาโชติ  ครูสอนพระปริยัติธรรมชุดแรก  ของสำนักเรียนวัดภคินีนาถ  ในสมัยพระธรรมถาวร (เซ่ง) เป็นเจ้าอาวาส)  โดยบริจาคทุนทรัพย์จำนวน  ๑๑๐,๐๐๐.๐๐ บาท  (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นบาทถ้วน)  และทางวัดได้ออกสมทบอีกส่วนหนึ่งด้วย
            ๑๒.  พ.ศ. ๒๕๒๑  เมรุเผาศพ เป็นคอนกรีต  หลังคาจัตุรมุขมุงด้วยกระเบื้องเคลือบ  มีเตาเผา    เตา  บันได ๔  ด้าน  สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ  ๗๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท (เจ็ดแสนบาทถ้วน)  เป็นเงินบริจาคของคุณนายอิ่ม  วิจิตรานุช  จำนวน  ๕๐๕,๐๐๐.๐๐ บาท (ห้าแสนห้าพันบาท)  ที่เหลือเป็นของผู้มีศรัทธาและของวัดร่วมสมทบด้วย     (ปัจจุบันนี้ เมรุเปลี่ยนเป็นเตาไร้มลภาวะ มีเตาเดียว  พ.ศ. ๒๕๕๑)
            ๑๓.  พ.ศ. ๒๕๒๑  สำนักงานฌาปนสถาน  ด้านตะวันตกเมรุ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้    ชั้น    คูหา  กว้าง    เมตร  สูง    เมตร  พื้นล่างเทคอนกรีต หลังคามุงกระเบื้องลอนคู่  สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๑๙๐,๐๐๐.๐๐  บาท (หนึ่งแสนเก้าหมื่นบาทถ้วน)  เป็นเงินของ คุณเทวี  กาญจนกุญชร  ๑๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)  ของวัด  ๙๐,๐๐๐.๐๐  บาท  (เก้าหมื่นบาทถ้วน)  และนายกำธร  ธรรมวโร  บริจาคเครื่องไม้และเหล็ก  คิดเป็นเงินหลายหมื่นบาท
         ๑๔.  พ.ศ. ๒๕๒๒  ศาลาบำเพ็ญกุศลศพ  เป็นอาคารคอนกรีต  กว้าง    เมตร  ยาว ๑๕  เมตร  สูง  ๑๐  เมตรเศษ  หลังคาทรงไทยมุงด้วยกระเบื้องเคลือบ  พื้นหินขัด  ยกพื้นด้านทิศเหนือสูง  ๕๐  เซนติเมตร  สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ  ๕๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท  (ห้าแสนบาทถ้วน)  เป็นเงินบริจาคของ  นายเอียด  นาครทรรพ  (อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง)  จำนวน  ๓๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน)  ที่เหลือเป็นเงินของผู้มีศรัทธาบริจาค  และของวัดร่วมสมทบด้วย
      ๑๕.  พ.ศ. ๒๕๒๕   กุฏิอธิสุข  กุฏิหลังนี้  เดิมเป็นบ้านบรรพชน  คุณนายสังวาลย์  อธิสุข  สืบทอดมาถึง  คุณนายสังวาลย์ ภรรยาคุณเชย  อธิสุข  ผู้ล่วงลับไปแล้ว  เป็นเรือนทรงไทย  เครื่องปรุงไม้สักฝากระดาน    ห้อง   ชั้นเดียวมีระเบียงใต้ถุนสูงโล่งไม่มีฝา  คุณนายสังวาลย์  มีศรัทธายกถวาย  วัดภคินีนาถ วรวิหาร  โดยมีจุดประสงค์ให้ปลูกรักษารูปทรงของเดิมไว้  ตัวไม้ตัวไหนเสีย  หมดอายุหรือชำรุด  เปลี่ยนใหม่พร้อมทั้งออกค่ารื้อถอนค่าก่อสร้างและแรงช่างทั้งหมด  ปลูกเข้าแถวตรงที่ว่างในหมู่กุฏิแถวเหนือ  สิ้นค่ารื้อถอน ค่าเปลี่ยนตัวไม้ใหม่  และค่าก่อสร้างให้เป็นไปตามประสงค์ของเจ้าภาพและได้ตกลงกันแก้ไขชั้นล่างจากเก่าเป็นอิฐรอบเป็นฝาติดประตู  หน้าต่างก่ออิฐภายในกั้นเป็นห้องน้ำ  ห้องส้วม  และห้องเด็กอาศัยอยู่ได้  กุฏิหลังนี้จึงเท่ากับเป็นกุฏิ ๒  ชั้น เดินท่อประปา  เข้าห้องน้ำเป็นเอกเทศ  เดินไฟฟ้าถาวรหมดทุกห้อง
         เจ้าภาพกำหนดวันฉลอง  ๒๑  กุมภาพันธ์  ๒๕๒๕  แล้วประกอบพิธีถวาย  และพร้อมกันนั้นได้สร้างเครื่องใช้สอยประจำกุฏิที่เห็นว่าจำเป็นถวายด้วย  มีโต๊ะหมู่บูชาครบชุด  พระพุทธรูป เป็นต้น
         อนึ่ง  เงินที่คณะญาติของเจ้าภาพบริจาคร่วมในวันนั้น  จำนวนห้าพันสามร้อยบาทเศษ  จ้าภาพมอบถวายวัด  พร้อมกุฏิทั้งหมดในตอนท้ายของเอกสารถวาย  เจ้าภาพระบุว่า  ขออุทิศส่วนกุศลให้  คุณพ่อเพิ่ม คุณแม่พลอย  และ คุณพี่เชย  อธิสุข
         ๑๖.  พ.ศ. ๒๕๒๕ ประตูกำแพงวัด  คุณนายลำใย  บางยี่ขัน  บริจาคทรัพย์สร้างทั้งหมด  ราคา  ๑๒๐,๐๐๐.๐๐ บาท  (หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน)
         ๑๗.  พ.ศ. ๒๕๓๒ ซุ้มประตูปากซอยติดต่อถนนราชวิถี  ผู้ร่วมทุนสร้าง คือ      พระครูบวรศิริวงศ์  และคุณนายอิ่ม วิจิตรานุช  คุณนายปราณี  สุกุลชัยวาณิชย์   คุณสมบูรณ์  เกิดทรัพย์ศรี  และคุณอิ่มศรี  เกิดทรัพย์ศรี        (สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ  ๑๗๐,๐๐๐.๐๐ บาท)
         ๑๘.  พ.ศ. ๒๕๒๖  ศาลาจินตองอาจ เป็นศาลารูปร่างเก๋งจีน  สร้างด้วยทุนของ พระครูบวรศิริวงศ์  และเจ้าของยาขมน้ำเต้าทอง  เป็นเงิน  ๒๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท  นอกจากนั้นเป็นเงินของวัด
๑๙. พ.ศ. ๒๕๒๙   กุฏิลำใย  บางยี่ขัน  เป็นกุฏิตึกทั้งหลัง  มี ๒ ชั้น    ห้อง  ชั้น  บนสำหรับพระเณรอยู่  ชั้นล่างเป็นสำนักงานฌาปนสถาน
         ๒๐.  พ.ศ. ๒๕๓๑  สร้างศาลาบำเพ็ญกุศลทรงจีน (ริเวอร์ไซค์) ค่าก่อสร้างประมาณ  ๘๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท  เจ้าของบริษัทริเวอร์ไซค์  ออกทุนสร้างทั้งหมด
         ๒๑.  พ.ศ.  ๒๕๓๑  บูรณปฏิสังขรณ์พระวิหาร  เป็นวิหารโบราณสมัยอยุธยาตอนปลาย  ชำรุดทรุดโทรมมาก  ให้อยู่ในสภาพดี  สิ้นเงินประมาณ  ๖๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท
         ๒๒.  พ.ศ. ๒๕๓๒  บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ซึ่งชำรุดทรุดโทรมมาก  สิ้นค่าใช้จ่ายในการนี้  ประมาณ ๕,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท   
         ๒๓.  พ.ศ. ๒๕๓๓   สร้างศาลาจารุนาคร  มีจารึกประจำศาลาว่า  คุณพ่อศิริ  จารุนาคร   นาวาอากาศเอกหญิง  เสวณีย์  จารุนาคร  สร้างอุทิศส่วนกุศลให้  คุณอาสนิท  จารุนาคร
         ๒๔.  พ.ศ.  ๒๕๓๖  ได้ซ่อมระเบียงวิหารคต  รอบพระอุโบสถ
         ๒๕.  พ.ศ.  ๒๕๓๘   สร้างกุฏิสุวรรณน้อย
         ๒๖.  พ.ศ.  ๒๕๓๙   สร้างอาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรมเป็นอาคารคอนกรีตทรงไทย  ๒ ชั้น สิ้นค่าก่อสร้างเป็นเงิน  ,๔๕๐,๐๐๐.๐๐ บาท  คุณสำเนียง คุณสุวรรณ  กาญจนกุญชร  และเครือญาติ  บริจาคเงินค่าก่อสร้างพร้อมทั้งอุปกรณ์การศึกษา  และเงินทุนการศึกษา  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น   ,๕๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท  
         ๒๗.  พ.ศ.  ๒๕๔๐   สร้างศาลาการเปรียญเป็นศาลาอเนกประสงค์คอนกรีตทรงไทย    ชั้น
         ๒๘.  พ.ศ.  ๒๕๔๑   บูรณะและย้ายศาลาการเปรียญไม้หน้าวัดที่สร้างในสมัย  รัชกาลที่    มาไว้ด้านหลังวัด  ดำเนินการโดยกรมศิลปากร
         ๒๙.  พ.ศ.  ๒๕๔๓  สร้างกุฏิน้อมสิน
         ๓๐.  พ.ศ.  ๒๕๔๔  สร้างกุฏิจางวางแถม  เป็นกุฏิทรงไทยครึ่งตึกครึ่งไม้    ชั้น
         ๓๑.  พ.ศ.   ๒๕๔๕ ซ่อมพระวิหารและบริเวณโดยรอบพร้อมทั้งสระน้ำหลังวิหาร
        
โรงเรียนพระปริยัติธรรม  (คัดจากที่พระราชวรมุนีได้จดเรียบเรียงไว้บางตอน)
         การศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณรวัดภคินีนาถ  เหนือยุคพระธรรมถาวร (เซ่ง) ขึ้นไปท่านสืบไม่ได้ชัดว่า  จัดอย่างไรแน่แต่ก็คงจะเป็นรูปแบบเก่า  คือ  ครูอยู่วัดไหน  นักเรียนก็เร่ไปเรียนวัดนั้น  มาแน่นอนเอาตอนพระธรรมถาวรเป็นเจ้าอาวาส  ได้จัดตั้งสำนักเรียนขึ้น  พระเณรย่านนั้นทุกวัด  มาเรียนรวมสำนักเดียวกัน  มีทั้งแผนกธรรมและบาลี  คณะครูยุคแรกที่ท่านจดไว้มี
                       
                        ๑.   พระธรรมถาวร  (สมัยยังเป็นพระครูวิสุทธิสังวร)
                        ๒.  พระมหาทิน     ประโยค
                        ๓.  พระมหาสังข์  ๕ ประโยค ๑
                        ๔.  พระมหาชิน      ประโยค  (ต่อมาได้รับสมณศักดิ์ที่พระชินวงศมุนี  แล้วเลื่อนเป็นพระราชวรมุนี  เจ้าคณะ  จังหวัดอำเภอแม่สอด)
                        ๕.  พระมหาโปร่ง    ประโยค
                        ๖.   พระมหาเชย       ประโยค
                        ๗.  พระใบฎีกาโชติ      น.ธ.โท ๒
คณะครูชุดนี้เท่ากับบุพพการีของสำนักเรียนวัดภคินีนาถโดยแท้
         การศึกษาพระปริยัติธรรมของสำนักวัดภคินีนาถนับว่าเจริญก้าวหน้าพอสมควร  มีพระเณรเกิดในสำนักนี้หลายสิบองค์  น.อ. แย้ม  ประพัฒน์ทอง  อดีตผู้อำนวยการกองอนุศาสนาจารย์  ท.อ.  ก็อยู่ในสำนักนี้  ต่อมาจำนวนนักศึกษา  ครูอาจารย์มากขึ้น  วัดเทพากร  โดยพระครูวิริยกิจโกศล  เจ้าอาวาสขอแยกตั้งสำนักเรียน  พระเณรในวัดเขตเหนือขึ้นสำนักวัดเทพากร  เขตใต้ขึ้นสำนักเรียน  วัดภคินีนาถ  ปัจจุบันวัดภคินีนาถ  ก็ยังเป็นสำนักเรียนเช่นเดิม

3 ความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...