Blogger templates

2/20/2554

การขึ้นทะเบียนโบราณสถานและหน้าที่ต่าง ๆ ที่ต้องปฏิบัติ

๓. การขึ้นทะเบียนโบราณสถานและหน้าที่ต่าง ๆ ที่ต้องปฏิบัติ


๓.๑ ความเป็นมาของการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
หลักการขึ้นทะเบียนโบราณสถานนั้น ตามกฎหมายฉบับเดิมคือ พระราชบัญญัติว่า
ด้วยโบราณสถาน ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ และการพิพิธ-ภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.๒๔๗๗ ซึ่งมีอยู่
แล้วแต่มิได้ใช้คำว่า "ขึ้นทะเบียน" อย่างในกฎหมายฉบับปัจจุบัน แต่ใช้คำว่า " จัดทำบัญชี "ดัง
จะเห็นได้จากบทบัญญัติ ในมาตรา ๖ ของกฎหมาย ดังกล่าวซึ่งบัญญัติว่า " ให้อธิบดีจัดทำ
บัญชีบรรดาโบราณสถานทั้งหลายที่มีอยู่ใน ประเทศสยามขึ้นไว้ ไม่ว่าจะเป็นโบราณ
สถานที่มีเจ้าของเป็นของเอกชนคนใดหรือไม่มีเจ้าของ หรือเป็น ทรัพย์สินของแผ่นดิน
รวมทั้งโบสถ์ วัดวาอาราม และสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นอันเกี่ยวกับศาสนา
บัญชีนั้น บุคคลใดๆย่อมตรวจดูและขอคัดสำเนาได้หรือขอรับสำเนาบัญชี หรือ
ย่อรายการอันรับรองว่าถูกต้องได้โดย เสียค่าธรรมเนียมตามที่อธิบดีจะกำหนดไว้แต่ไม่
เกินห้าบาท "

แม้ในกฎหมายฉบับปัจจุบันคำว่า " จัดทำบัญชี " ก็ยังหลงเหลือให้เห็นได้ดังที่บัญญัติ
ไว้ใน มาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ พ.ศ.
๒๕๐๔ ว่า " บรรดาโบราณสถานซึ่ง อธิบดีกรมศิลปากร ได้จัดทำบัญชี และประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาตามกฎหมายว่าด้วย โบราณสถาน ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุและการ
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ถือว่าเป็น โบราณสถาน ที่
ได้ ขึ้นทะเบียนแล้วตามพระราชบัญญัตินี่ด้วย"

๓.๒. การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
การขึ้นทะเบียนโบราณสถานเป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งของ กฎหมายในอันที่
จะคุ้มครอง ควบคุมดูแลรักษาโบราณสถาน ปัจจุบันกฎหมายที่คุ้มครองโบราณสถานของไทยคือ
พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ.๒๕๓๕ มาตรา ๗ ได้กำหนดเรื่องการขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้ว่า " เพื่อประโยชน์ในการ
ดูแลรักษาและการควบคุม โบราณสถานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติให้อธิบดีมีอำนาจ
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียนโบราณสถานใดๆตามที่อธิบดี เห็นสมควรได้
และให้มีอำนาจกำหนดเขตที่ดินตามที่เห็นสมควรเป็นเขตของโบราณสถานโดยให้ถือว่า
เป็นโบราณสถานด้วยก็ได้ประกาศดังกล่าวนี้อธิบดีจะเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมก็ให้
กระทำได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา "
การขึ้นทะเบียนโบราณสถานตามความในวรรคก่อนถ้าโบราณสถานนั้นมีเจ้าของ
หรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายให้ อธิบดีแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของ หรือผู้ถือครอบครอง
ทราบ ถ้าเจ้าของหรือผู้ถือครอบครองไม่พอใจก็ให้มีสิทธิร้องต่อศาลภายในกำหนด สามสิบวัน นับ
แต่วันที่อธิบดี แจ้งให้ทราบขอให้ศาลมีคำสั่งให้อธิบดีระงับการขึ้นทะเบียน และหรือ การกำหนด
เขตที่ดิน ให้เป็น โบราณสถาน แล้วแต่กรณีได้ ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้ร้องขอต่อศาลหรือ
ศาลมีคำสั่งคดีถึงที่สุดให้ยกคำร้องขอของเจ้าของ หรือผู้ครอบครองให้อธิบดีดำเนินการขึ้น
ทะเบียนได้”

จากบทกฎหมายมาตรา ๗ ดังกล่าวข้างต้นหากสรุปเป็นหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนได้ดังนี้

๓.๒ ๑. หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
(๑) อสังหาริมทรัพย์ที่จะขึ้นทะเบียนต้องเป็นโบราณสถานตามบทนิยามของ
กฎหมายของคำว่า "โบราณสถาน"
(๒) อธิบดีกรมศิลปากรเปน็ ผู้มีอำนาจประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
และมีอำนาจกำหนดเขตที่ดินตามที่เห็นสมควรเป็นเขตของโบราณสถานซึ่งเขตของโบราณสถานนี้
ให้ถือเป็นโบราณสถานด้วย
(๓) หากโบราณสถานใดที่อธิบดีกรมศิลปากรจะประกาศขึ้นทะเบียนมี
เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย อธิบดีกรมศิลปากรต้องแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของ
หรือผู้ครอบครองทราบ หากเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่พอใจก็ให้ใช้สิทธิร้องต่อศาลภายใน
สามสิบวัน นับแต่วันที่อธิบดีกรมศิลปากรแจ้งให้ทราบ หากศาลมีคำสั่งให้อธิบดีระงับการขึ้น
ทะเบียนและหรือกำหนดเขตที่ดินให้เป็นโบราณสถานก็ให้อธิบดีระงับการขึ้นทะเบียนหรือการ
กำหนดเขตที่ดิน
หากเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่ได้ร้องขอต่อศาล หรือศาลมีคำสั่งคดีถึงที่สุด
ให้ยกคำร้องขอของเจ้าของหรือผู้ครอบครอง อธิบดีกรมศิลปากรมีอำนาจขึ้นทะเบียนได้
ดังนั้นหากเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่ยื่นคำร้องต่อศาลภายใน๓๐ วัน ก็ถือ
ว่าสละสิทธิ์ อธิบดีกรมศิลปากรจะประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานต่อไป
(๔) อธิบดีกรมศิลปากรมีอำนาจเพิกถอนการขึ้นทะเบียนโบราณสถานหรือ
แก้ไขเพิ่มเติมการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
(๕) การประกาศขึ้นทะเบียนหรือประกาศเพิกถอนหรือประกาศแก้ไข
เพิ่มเติมการขึ้นทะเบียนโบราณสถานต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๖) โบราณสถานที่อธิบดีกรมศิลปากรได้จัดทำบัญชีและประกาศในราช
กิจจานุเบกษาตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถาน
แห่งชาติ ก่อนวันที่พระราชบัญญัติโบราณสถานโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถาน
แห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๔ ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วตาม
พระราชบัญญัติ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๐๔

๓.๒.๒. การขึ้นทะเบียนโบราณสถานที่ไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง
โบราณสถานที่ไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองซึ่งถูกทิ้งร้างไว้ยังพบเห็นได้
อยู่ทั่วไปตามป่าเขา ดังที่เป็นข่าวอยูเนือง ๆ และเมื่อได้มีการตรวจสอบแล้วเห็นว่าสมควรจะขึ้น
ทะเบียนเพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาและการควบคุมโบราณสถาน ก็ให้อำนาจอธิบดีกรม
ศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนได้
นอกจากการประกาศขึ้นทะเบียนตามที่กล่าวข้างต้นแล้วกฎหมาย
ยังให้อธิบดีกรมศิลปากรมีอำนาจกำหนดเขตที่ดินตามที่เห็นสมควรเป็นเขตของ
โบราณสถาน โดยให้ถือว่าเป็นโบราณสถานด้วยก็ได้ มีข้อที่น่าสังเกตว่าในเรื่องการ
กำหนดเขตที่ดินนี้ ตามกฎหมายเดิมคือพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๔๗๗ มิได้บัญญัติไว้ ทั้งนี้เนื่องจากแต่
เดิมการขึ้นทะเบียนโบราณสถานใช้วิธีการประกาศชื่อโบราณสถานเท่านั้น และไม่มีข้อ
ยุ่งยากแต่อย่างใด เพราะที่ดินว่างเปล่ายังมีอยู่มากมาย ปัญหาต่าง ๆ เช่น การบุกรุก
ที่ดินโบราณสถานมักไม่ค่อยพบ ข้อบกพร่องของกฎหมายเดิมก็คือเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็
ไม่สามารถจะชี้ชัดได้ว่าเขตของโบราณสถานมีอยู่แค่ไหนเพียงใด พระราชบัญญัติ
โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ฉบับที่ใช้บังคับใน
ปัจจุบันจึงได้อุดช่องว่างนี้ โดยกำหนดหลักการให้มีการกำหนดเขตที่ดินเป็นเขต
โบราณสถาน โดยเขียนไว้ชัดว่า “ให้ถือว่าเป็นโบราณสถาน” ด้วย

๓.๒.๓. การขึ้นทะเบียนโบราณสถานที่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง
โบราณสถานบางแห่งมีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง เช่น อาจเป็นของ
เอกชนคนใดคนหนึ่ง พระราชบัญญัติโบราณสถาน พ.ศ.๒๕๐ จึงได้บัญญัติไว้ในวรรคสองของ
มาตรา ๗ ไว้เป็นพิเศษ จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่ากฎหมายมิได้มีเจตนารมณ์ที่จะยึด
โบราณสถานที่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองมาเป็นของรัฐดังที่มีบุคคลบางคนเข้าใจกฎหมายยังให้
ความเคารพในสิทธิของเอกชนไม่ว่าจะเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองก็ตามการขึ้นทะเบียนโบราณ
สถานที่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง อธิบดีกรมศิลปากรจะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้
ครอบครองทราบ เจ้าของหรือผู้ครอบครองซึ่งอธิบดีกรมศิลปากรจะต้องแจ้งให้ทราบนั้นจะต้อง
เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่พอใจ ซึ่งก็อาจเป็นไปได้เพราะการ
ขึ้นทะเบียนโบราณสถานทำให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองถูกจำกัดสิทธิบางประการดังจะได้กล่าว
ต่อไป เจ้าของหรือผู้ครอบครองจะต้องร้องต่อศาลภายในกำหนด ๓๐ วัน นับแต่วันที่อธิบดีกรม
ศิลปากรแจ้งให้ทราบ เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้อธิบดีกรมศิลปากรระงับการขึ้นทะเบียนและหรือ
การกำหนดเขตที่ดินให้เป็นโบราณสถาน ข้อที่ควรสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือการที่กำหนดให้ร้อง
ต่อศาล ซึ่งเป็นฝ่ายตุลาการนี้ถือว่าเป็นการเปลี่ยนหลักการจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้อุทธรณ์
ต่อรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหารเท่านั้น (โปรดดูพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.๒๔๗๗ มาตรา๗(๒))
หากเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้ร้องของต่อศาล หรือศาลได้มีคำสั่งถึง
ที่สุดให้ยกคำร้องของเจ้าของ หรือผู้ครอบครองนั้น ก็ให้อธิบดีกรมศิลปากรดำเนินการขึ้นทะเบียน
ได้ต่อไป

๓.๒.๔. ผลของการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
โบราณสถานใดที่กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนแล้วจะมีผลดังนี้
(๑) การควบคุมกี่ปลูกสร้างอาคารตามกฎหมายว่าด้วย การควบคุมการ
ก่อสร้างอาคาร
เนื่องจากว่าปัญหาเกี่ยวกับการปลูกสร้างอาคารเป็นปัญหาสำคัญที่มี
ผลกระทบโดยตรงต่อโบราณสถาน เพราะหากไม่มีการควบคุมปล่อยให้มีการปลูกสร้างกันอย่าง
เสรีย่อมทำให้สภาพภูมิทัศน์ของโบราณสถานเสียไป ฉะนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ จึงได้มีประกาศของ
คณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๐๘ ข้อ ๑ ให้เพิ่มมาตรา ๗ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๔ เพื่อควบคุมการปลูกสร้างอาคารในเขต
โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้ว ดังนี้
" มาตรา ๗ ทวิ ห้ามมิให้ผู้ใดปลูกสร้างอาคารตามกฎหมายว่าด้วย
การควบคุมการก่อสร้างอาคารภายในเขตของโบราณสถาน ซึ่งอธิบดีได้ประกาศขึ้น
ทะเบียนเว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี
ในกรณีที่มีการปลูกสร้างอาคารโดยมิได้รับอนุญาตให้อธิบดีมี
อำนาจสั่งระงับการก่อสร้าง และให้รื้อถอนอาคารหรือส่วนแห่งอาคารนั้นภายในกำหนด
หกสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง
ผู้ใดขัดขืนไม่ระงับการก่อสร้างหรือรื้อถอนอาคารหรือส่วนแห่ง
อาคารตามคำสั่งอธิบดี มีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน และให้อธิบดีดำเนินการรื้อ
ถอนอาคารหรือส่วนแห่งอาคารนั้นได้ โดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองหรือผู้ปลูกสร้างไม่มี
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือดำเนินคดีแก่ผู้รื้อถอนไม่ว่าด้วยประการใดทั้งสิ้น
สัมภาระที่รื้อถอนถ้าเจ้าของไม่ขนย้ายออกไปจากเขต
โบราณสถานภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันรื้อถอนเสร็จ ให้อธิบดีจัดการทอดตลาด
สัมภาระนั้น เงินที่ได้จากการขายเมื่อหักค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและการขายแล้ว เหลือ
เท่าใดให้คืนเจ้าของสัมภาระนั้น "
บทบัญญัติในมาตรา ๗ ทวิ มีลักษณะพิเศษซึ่งรวมมาตรการทั้งทางแพ่ง
และทางอาญาไว้ในตัวเบ็ดเสร็จ ในทางอาญานั้นบัญญัติไว้ในวรรคสาม กล่าวคือ ในกรณีที่ขัดขืน
ไม่ระงับการก่อสร้างหรือรื้อถอนอาคาร หรือส่วนแห่งอาคารตามคำสั่งอธิบดีกรมศิลปากร มี
ความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจะต้องไปดูประมวล
กฎหมายอาญามาตรา ๓๖๘ ซึ่งบัญญัติว่า
" ผู้ใดทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร ต้องระวงโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือ
ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ "
ส่วนมาตรการทางแพ่ง หากเปรียบเทียบแล้วมีความรุนแรงกว่าทาง
อาญาเสียอีกโดยได้กำหนดไว้ในวรรคสามเช่นกัน และได้กำหนดรายละเอียดไว้ในวรรคสี่และใน
วรรคห้าด้วยว่า ในกรณีที่ขัดขืนไม่ระงับการก่อสร้างหรือรื้อถอนอาคารหรือส่วนแห่งอาคารก็ให้
อธิบดีกรมศิลปากรดำเนินการรื้อถอนอาคารหรือส่วนแห่งอาคารนั้นได้ โดยเจ้าของหรือผู้
ครอบครองหรือผู้ปลูกสร้างไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือดำเนินคดีแก่ผู้รื้อถอนไม่ว่าด้วย
ประการใดๆทั้งสิ้น และสัมภาระที่รื้อถอนถ้าเจ้าของไม่ขนย้ายออกไปจากเขตโบราณสถานภายใน
กำหนด ๕ วัน นับแต่วันรื้อถอนเสร็จ อธิบดีกรมศิลปากรย่อมมีอำนาจจัดการขายทอดตลาด
สัมภาระนั้นได้ เมื่อได้เงินจากการขายทอดตลาดนั้นแล้วก็ให้นำมาหักค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและ
การขาย หากมีเหลือก็ต้องคืนเจ้าของสัมภาระไป
เหตุที่กฎหมายต้องบัญญัติถึง " ผู้ปลูกสร้าง " และ " ผู้รื้อถอน " ไว้ด้วยก็
เพราะการปลูกสร้างอาคารต่างๆ เจ้าของผู้ครอบครองอาจไม่ได้ปลูกสร้างเองแต่ว่าจ้างบุคคลอื่น
ปลูกสร้างหรือในทางตรงกันข้ามกรณีรื้อถอนอาคารก็เช่นกัน อธิบดีกรมศิลปากรอาจว่าจ้างบุคคล
อื่น เช่น เอกชนรายใดรายหนึ่งเป็นผู้รื้อถอน ฉะนั้นกฎหมายจำเป็นต้องเขียนครอบคลุมบุคคล
เหล่านี้ไว้ด้วย เพื่อมิให้ต้องรับผิดในกรณีดังกล่าว
๓.๒.๕. หน้าที่ของเจ้าของหรือผู้ครอบครองโบราณสถาน
ตามปกติเจ้าของหรือผู้ครอบครองโบราณสถานไม่ว่าจะขึ้นทะเบียนหรือ
ไม่ก็ต้องปฏิบัติตามที่พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถาน
แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ กำหนดให้ต้องปฏิบัติ เช่น ตามมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๐ ทวิ อยู่แล้ว
อย่างไรก็ดีในกรณีที่โบราณสถานนั้นได้ขึ้นทะเบียนแล้วเจ้าของหรือผู้ครอบครองจะต้องมีหน้าที่
เพิ่มขึ้น ดังนี้
(๑) เจ้าของหรือผู้ครอบครองโบราณสถานต้องแจ้งการชำรุด หักพัง หรือ
เสียหายไม่ว่าด้วยประการ ใดเป็นหนังสือไปยังอธิบดี กรมศิลปากรภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่
โบราณสถานนั้นชำรุดหักพัง หรือเสียหาย (ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน
โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๔) หากไม่แจ้งมีโทษตามมาตรา
๓๔ ซึ่งกำหนดให้จำคุกไม่เกิน ๑ เดือนหรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๒) เจ้าของหรือผู้ครอบครองโบราณสถานต้องยินยอมให้พนักงาน
เจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดๆ ซึ่งได้รับคำสั่งจากอธิบดีเข้าทำการซ่อมแซม หรือกระทำด้วยประการ
ใดๆ เพื่อเป็นการบูรณะหรือรักษาไว้ให้คงสภาพเดิมเมื่อได้รับการแจ้งเป็นหนังสือจากอธิบดีกรม
ศิลปากรแล้ว (ตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๔) และในกรณีที่มีการขัดขวางการปฏิบัติงานของพนักงาน
เจ้าหน้าที่ดังกล่าวแม้พระราชบัญญัติ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถาน
แห่งชาติ จะมิได้บัญญัติฐานความผิดไว้ ก็ต้องพิจารณาจากบทบัญญัติในมาตรา ๑๓๘ แห่ง
ประมวลกฎหมายอาญาฐานขัดขวางเจ้าพนักงาน ซึ่งบัญญัติว่า
" ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงาน
ตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่
เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการต่อสู้หรือขัดขวางนั้น ได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญ
ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินแปดพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ "
(๓) เจ้าของหรือผู้ครอบครองซึ่งเป็นผู้โอนโบราณสถานให้บุคคลอื่น
จะต้องแจ้งการโอนเป็นหนังสือ โดยระบุชื่อและที่อยู่ของผู้รับโอน และวันเดือนปีที่โอนไปยังอธิบดี
กรมศิลปากร ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันโอน และในกรณีที่เจ้าของเป็นผู้ได้รับกรรมสิทธิ์
โบราณสถานโดยทางมรดกหรือโดย พินัยกรรม ต้องแจ้งการได้รับกรรมสิทธิ์ไปยังอธิบดีกรม
ศิลปากรภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับกรรมสิทธิ์หากมีผู้ได้รับกรรมสิทธิ์ในโบราณสถานเดียวกัน
หลายคนเมื่อได้มีการมอบหมายให้ผู้มีกรรมสิทธิ์รวมคนใดคนหนึ่งเป็นผู้แจ้งการรับกรรมสิทธิ์ และ
ผู้ได้รับมอบหมายได้ปฏิบัติการแจ้งนั้นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้มีกรรมสิทธิ์รวม
ทุกคนได้ปฏิบัติการแจ้งนั้นแล้วด้วย ทั้งนี้ตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน
โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ หากฝ่าฝืนย่อมมีโทษ ตาม
มาตรา ๓๔ ดังได้กล่าวในข้อ ๓.๒.๕(๑) แล้ว
(๔) หากเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งโบราณ
สถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว จัดให้มีการเรียกเก็บค่าเข้าชมหรือค่าบริการอื่นเป็นปกติธุระหรือจัดเก็บ
ผลประโยชน์ใดๆ ที่เกิดจากโบราณสถานดังกล่าว เจ้าของหรือผู้ครอบครองโบราณสถานนั้นต้อง
เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่อธิบดีกรมศิลปากรกำหนด
การกำหนดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมดังกล่าว อธิบดีกรมศิลปากรจะ
แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง จำนวนไม่น้อยกว่า สามคน โดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองร่วม
เป็นกรรมการด้วย
นอกจากหน้าที่ข้างต้นแล้ว เจ้าของหรือผู้ครอบครอง โบราณสถานที่ได้
ขึ้นทะเบียนแล้ว พึงทราบถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในฐานะที่เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครอง
โบราณสถานนั้น ข้อกฎหมายที่กล่าวถึงนี้ก็คือมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน
โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ.๒๕๓๕ กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจออกกฎกระทรวงให้ผู้เข้าชม
โบราณสถานปฏิบัติบางประการในระหว่างเข้าชม เมื่อเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการรักษา
สภาพ ความปลอดภัยความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของโบราณสถานที่ได้ขึ้น
ทะเบียนแล้ว ดังนี้
(๑) ไม่เคลื่อนย้ายสิ่งต่างๆ ในโบราณสถาน
(๒) ไม่ขีด เขียน หรือทำให้ปรากฏด้วยประการใดๆ ซึ่งข้อความ ภาพ หรือรูปรอย
ใดๆ ลงบนโบราณสถาน
(๓) ไม่นำอาวุธ วัตถุระเบิด วัตถุเชื้อเพลิง หรือสารเคมีอันจะก่อให้เกิดอันตราย
เข้าไปในโบราณสถาน
(๔) ไม่ปีนป่ายโบราณสถาน หรือไม่กระทำการใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดความชำรุด
เสียหาย หรือก่อให้เกิดความสกปรก และไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยแก่โบราณสถาน
(๕) ไม่เทหรือถ่ายทิ้งขยะมูลฝอย หรือสิ่งปฏิกูลลง ณ ที่ใดๆ ภายในโบราณสถาน
นอกจากที่ซึ่งจัดไว้
(๖) ไม่กระทำการใดๆ ภายในโบราณสถาน อันเป็นที่น่ารังเกียจ หรือเป็นที่เสื่อม
เสียต่อศีลธรรมอันดี หรือลบหลู่ดูหมิ่นศาสนา และวัฒนธรรม หรือก่อความรำคาญแก่ผู้เช้าชม
อื่นๆ
ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนมาตรา ๑๓ ย่อมมีโทษตามมาตรา ๓๔ เชน่ กัน

๓.๓ การเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
การขึ้นทะเบียนโบราณสถานนั้น เจตนารมณ์ของกฎหมายก็เพื่อประโยชน์ในการ
ดูแลรักษาและ การควบคุมโบราณสถาน ดังนั้น หากปรากฏต่อมาว่าโบราณสถานนั้นไม่มี
ประโยชน์ในการดูแลรักษา และการควบคุมอีกต่อไป กฎหมายก็ให้อำนาจอธิบดีกรมศิลปากร
เพิกถอนการประกาศขึ้นทะเบียนนั้นได้ นอกจากนั้นเมื่อได้ประกาศขึ้นทะเบียนแล้วอาจมีการ
เปลี่ยนแปลง เช่น ขยาย หรือลดเขตโบราณสถานกฎหมายจึงได้กำหนดไว้ให้อธิบดีกรมศิลปากรมี
อำนาจจะแก้ไขเพิ่มเติมได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามการเพิกถอนหรือการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ
ดังกล่าวจะมีผลตามกฎหมายต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย
เกี่ยวกับการเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมประกาศการขึ้นทะเบียนโบราณสถานนี้ มี
ข้อที่น่าสังเกตว่า ในกรณีที่ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานที่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองนั้น
กฎหมายกำหนดไว้ชัดว่าอธิบดีกรมศิลปากรจะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครอง
ทราบ แต่การเพิกถอนหรือการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศดังกล่าว กฎหมายมิได้กำหนดให้ต้องแจ้ง
เจ้าของหรือผู้ครอบครองทราบแต่อย่างใด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...