Blogger templates

6/21/2555

สภาพการณ์สังเขปสมัยสมเด็จพระนารายณ์

สภาพการณ์สังเขปสมัยสมเด็จพระนารายณ์



 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา ระหว่าง พ..๒๑๙๙ ถึง .๒๒๓๑ (..๑๖๕๖ ถึง.๑๖๘๘รัชสมัยของพระองค์อยู่ในภาวะเปิดประเทศ ตามหลักฐานประวัติศาสตร์กล่าวว่ามีชนชาติต่างๆ เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เข้ามาอาศัยชั่วคราวและถาวรถึง ๔๐ ชาติ ทั้งมารับราชการทหารและประกอบการค้า
            สถานการณ์ของประเทศในตอนนั้นมีทั้งการแย่งชิงความเป็นใหญ่ในราชสำนัก สงครามดินแดนระหว่างไทย พม่า มลายู การแก่งแย่งผลประโยชน์ทางการค้าระหว่างอังกฤษ ฮอลันดา โปรตุเกส และฝรั่งเศส ตลอดจนการแข่งขันการแผ่ลัทธิศาสนาที่แตกต่างกันคือ คริสตศาสนาและศาสนาอิสลาม
            หลักสำคัญในการวางนโยบายของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชคือ การใช้วิธีทางการฑูต ทั้งในภูมิภาคเดียวกันและกับมหาอำนาจยุโรปที่มีอิทธิพลทางการรบทางทะเล ซึ่งมีกำลังทหารและอาวุธที่ทันสมัย
            ด้วยเหตุที่ประเทศไทย (กรุงสยามในสมัยนั้นมีขอบขัณฑสีมากว้างไกล โดยฝั่งตะวันตกก็ครอบคลุมจนถึงตะนาวศรี มะริดที่อยู่ติดทะเลอันดามัน อันเป็นเส้นทางที่เรือเดินทะเลทางยุโรป เปอร์เซีย อินเดีย จะเข้ามาถึงก่อน และทางใต้ซึ่งไปถึงกลันตัน ไทรบุรี และปัตตานี
ที่เป็นประเทศราช ขณะเดียวกันอิทธิพลใน กัมพูชา และเวียดนาม ก็ยังมีอยู่มากประกอบกับในสมัยนั้นไทยเป็นคู่ค้าสำคัญกับจีน ญี่ปุ่น ซึ่งสินค้าจาก ๒ ประเทศนี้เป็นที่ต้องการของชาวอินเดีย เปอร์เซียและฝรั่งตะวันตกโดยเรือสินค้าเหล่านี้จะมาแวะที่เมืองท่าต่างๆ ในประเทศไทย
            การติดต่อกับนานาชาติ ตลอดจนเขตแดนที่ขยายลงไปทางใต้มากที่มีเมืองหรือประเทศราชที่ประชาชนนับถือศาสนาอิสลาม ทำให้ต้องมีนโยบายทั้งรับและรุกในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ยอมให้เป็นประเทศราชปกครองตนเอง นำเจ้าเมืองหรือผู้ปกครองมาไว้รับใช้ใกล้ชิดแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์สูงในกรุงศรีอยุธยา หรือให้ไปปกครองเมืองในขอบขัณฑสีมาบางเมือง ยอมให้กระทำพิธีทางศาสนาและสร้างสุเหร่าได้เป็นต้น อิทธิพลของกลุ่มชนที่นับถือศาสนาอิสลามมากขึ้นเป็นลำดับ จึงทรงมีนโยบายที่จะให้มีการเผยแพร่คริสตศาสนาของพวกฝรั่งเพื่อถ่วงดุลฐานอำนาจเดิมของพวกมุสลิมขณะเดียวกันก็หวังเอาฝรั่งมาเป็นพวกและให้ถ่วงดุลอำนาจกันเองระหว่างฝรั่งชาติต่างๆ ที่เข้ามาค้าขายอยู่ในขณะนั้นด้วย
            จากหลักฐานประวัติศาสตร์เห็นได้ชัดเจนว่า ในบรรดาฝรั่งชาติต่างๆ ที่เข้ามานั้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีพระประสงค์จะมีสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสมากกว่าชาติอื่น สาเหตุ
มาจากความไม่พอพระทัยการรุกรานและข่มขู่เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิประโยชน์ทางการค้าของอังกฤษและฮอลันดา ประกอบกับทรงทราบว่าพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสในขณะนั้นคือพระเจ้า
หลุยส์ที่ ๑๔ มีพระราชอำนาจเป็นที่น่าเกรงขามในทวีปยุโรป ฝรั่งเศสเองก็ต้องการค้าขายสร้างความร่ำรวยกับประเทศแถบนี้อยู่แล้วและต้องการเผยแพร่คริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิกด้วย ทั้งสองฝ่ายจึงส่งราชทูตเจริญสัมพันธไมตรีซึ่งกันและกัน
            จากสัญญาทางพระราชไมตรีระหว่างสองประเทศและจากจดหมายเหตุราชทูต บาดหลวง นายทหารและผู้เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่าย แสดงถึงสิทธิประโยชน์แลกเปลี่ยนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในเรื่องสำคัญ ๓ เรื่องคือ
                        สิทธิทางการเผยแพร่คริสตศาสนา
                        ผลประโยชน์ทางการค้า เช่นการตั้งบริษัทการค้า การให้ผูกขาดสินค้าบางประเภท
                        การพัฒนาเมืองยุทธศาสตร์ทางบกและทางทะเล
            ในแง่ของฝ่ายไทยที่จะได้รับผลประโยชน์จากทั้ง ๓ เรื่องนั้น ในข้อที่ ๑ เป็นไปโดยทางอ้อม คือการใช้คริสตศาสนา เป็นการถ่วงดุลของศาสนาอิสลามและกลุ่มข้าราชการมุสลิมที่มีอำนาจในราชสำนัก และเป็นเจ้าครองเมืองอยู่หลายเมืองในขณะนั้น ในข้อที่ ๒ เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน แต่ฝรั่งเศสน่าจะได้กำไรจากสินค้าผูกขาดบางอย่างที่มุ่งหวัง เช่นดีบุก พริกไทย การมุ่งหวังที่จะผูกขาดหรือทำกำไรจากสินค้าบางตัวนี้ มีผลถึงเป้าหมายที่ฝรั่งเศสจะเลือกทำเลที่ตั้งบริษัทการค้าของฝรั่งเศสและชัยภูมิที่จะตั้งกองกำลังป้อมค่ายเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของฝรั่งเศสด้วย ซึ่งจะนำไปสู่ข้อตกลงที่ ๓ อันเป็นข้อที่ปรากฏเรื่องราวมากมายถึงการเจรจา การวางเงื่อนไข การปรับเปลี่ยนสัญญาให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของแต่ละฝ่าย ซึ่งสรุปได้ว่า ฝรั่งเศสต้องการพัฒนาเมืองบางเมืองที่เอื้อต่อการปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าและเป็นชัยภูมิที่มั่นที่คนฝรั่งเศสจะมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเมื่อเกิดความผันแปรทางการเมืองได้ ขณะที่ฝ่ายไทยต้องการให้ฝรั่งเศสอยู่ในฐานะผู้เข้ามาช่วยดูแลร่วมกับฝ่ายไทย และมีกองกำลัง อาวุธ ตลอดจนป้อมปราการที่จะป้องกันข้าศึกที่จะมารุกราน ไม่ว่าจะเกิดจากภัยสงครามแบ่งดินแดน สงครามทางการค้าหรือ ศาสนา
            ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๒๒๘ - ๒๒๓๑ (ค.ศ.๑๖๘๕ - ๑๖๘๘อันเป็นช่วงที่ไทยและฝรั่งเศส ต่างฝ่ายต่างส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกันและกันนั้น ทางฝรั่งเศสนอกจากส่งกองทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์มาให้ตามที่ไทยเรียกร้องและเพื่อประจำอยู่ตามเมืองท่ายุทธศาสตร์ที่จะปกป้องผลประโยชน์ของฝรั่งเศสแล้ว ก็ยังส่งวิศวกรมาเพื่อทำแผนที่เมืองต่างๆ เพื่อฝรั่งเศสใช้เป็นข้อมูลเลือกทำเลดังกล่าว ที่ปรากฏชื่อและมีผลงานเด่นชัดในเรื่องนี้มี ๒ คน คือ ลามาร์ (Monsieur Lamare)และ โวลองต์ (Monsieur Volant) ลามาร์เข้ามาประเทศไทยพร้อมกับเรือคณะทูตชุดเชอวาลิเอร์ เดอ โชมองต์ ในปี พ..๒๒๒๘ และตายในประเทศไทยในปีพ.๒๒๓๒ คือภายในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ผลัดเปลี่ยนแผ่นดินจากสมัยสมเด็จพระนารายณ์ไปเป็นรัชสมัยของสมเด็จพระเพทราชา ลามาร์ได้เข้ามาทำแผนที่และร่างแบบแปลนแผนผังเพื่อพัฒนาเมืองต่างๆ พร้อมบันทึกความเห็นถึงสภาพทำเลที่ตั้งของเมืองนั้นๆ ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา อินทร์บุรี บริเวณรอบๆอยุธยา กรุงเทพฯ (บางกอกลพบุรี มะริด (Mergui) ลามาร์กล่าวว่าตนได้ทำตามพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ไทย แต่ลามาร์เองก็มิได้ประสงค์จะเข้าเป็นข้าราชสำนักไทยจึงปฏิเสธที่สมเด็จพระนารายณ์จะปูนบำเหน็จให้ไปเป็นเจ้าเมืองมะริด แต่ประสงค์จะรับเงินในฐานะวิศวกรของฝรั่งเศสจากพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ มากกว่า โครงการพัฒนาเมืองเหล่านี้ในรูปของแบบแปลนแผนผังซึ่งวางแผนว่าควรสร้างป้อมปราการกำแพงเมืองที่ใดอย่างไร ลามาร์ได้ฝากส่งไปกับเรือเพื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ทอดพระเนตร นัยว่าจะได้ทรงพิจารณาว่าควรขอเมืองใดให้เป็นที่มั่นของฝรั่งเศสระหว่างภูเก็ต มะริด สงขลา ฯลฯ
            สำหรับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็ทรงพอพระทัยผลงานของลามาร์มากและคงจะมีพระดำริที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อเมืองยุทธศาสตร์เหล่านี้นอกเหนือจากจะยกให้ฝรั่งเศสดูแล แม้ว่าจะมิได้กล่าวถึงโดยตรง แต่จะเห็นว่านโยบายการสร้างป้อมปราการของเมืองบางกอกได้เริ่มดำเนินการแล้ว แต่เนื่องจากลามาร์เขียนแบบแปลนแผนผังเหล่านี้แล้วเสร็จในปี พ.๒๒๓๐ ซึ่งในปีรุ่งขึ้น (..๒๒๓๑) สมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ทรงประชวรและสิ้นพระชนม์ในที่สุด ดังนั้นแผนการที่จะดำเนินการตามนี้จึงอาจหยุดชะงักลง จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า แบบแปลนแผนผังที่ลามาร์ทำนี้ฝรั่งเศสเองรับไปดำเนินการสร้างป้อมที่เมืองมะริดในปี พ.๒๒๓๑ (คศ๑๖๘๘เมื่อเห็นว่าตนจะได้เมืองนี้เป็นที่มั่นและให้ลามาร์ไปทำแผนที่และร่างแบบแปลนแผนผังพัฒนาเมืองภูเก็ตอีกเมืองหนึ่งในปีพ.๒๒๓๒ เพื่อประโยชน์ของฝรั่งเศสเอง อันเป็นงานชิ้นสุดท้ายที่ลามาร์ได้ทำไว้นอกเหนือจากที่ดำเนินการตามพระบรมราชโองการของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
            โวลองต์ เข้ามาในประเทศไทยเมื่อปีพ.๒๒๓๐ (ค.ศ๑๖๘๗และมาทำแผนผังและวางโครงการสร้างป้อมปราการที่เมืองบางกอกเป็นสำคัญ โดยมีหลายอย่างที่มีความเห็นไม่ตรงกันกับลามาร์ แต่ขณะเดียวกันทางฝ่ายฝรั่งเศสเองก็ไม่สู้จะนิยมชมชอบผลงานของโวลองต์นักเพราะเห็นว่าเป็นโครงการที่ใหญ่โตเกินไป หลายปีจึงจะสำเร็จ ต้องการให้มีการดำเนินการอย่างรีบด่วน เพราะขณะนั้นฝรั่งเศสได้เมืองบางกอกเป็นที่มั่นสำคัญ มีกองกำลังทหารรักษาป้อมปราการเดิมที่มีอยู่แล้ว
            เนื้อหาที่จะกล่าวต่อไปจะได้พิจารณาใน ๒ เรื่องคือโครงการแบบแปลนแผนผังเมืองเหล่านี้แสดงให้เห็นนโยบายในการพัฒนาเมืองยุทธศาสตร์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชอย่างไร และจากหลักฐานโบราณคดีแบบแปลนแผนผังเมืองบางเมืองที่เป็นเมืองยุทธศาสตร์ทางทะเลนั้นสภาพก่อนการทำแผนผังและหลังการทำแผนผังมีอะไรที่แตกต่างออกไปบ้าง ในประเด็นนี้จะนำเสนอหลักฐานเฉพาะเมืองท่าทางทะเลในภาคใต้ที่มีข้อมูลทางโบราณคดีได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...