Blogger templates

2/25/2554

สระบุรีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย

สระบุรีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย

บริเวณที่ลาดเชิงเขาและบริเวณที่ราบลุ่มทางฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มตั้งแต่จังหวัดสระบุ ลพบุรี เรื่อยไปจนถึงจังหวัดนครสวรรค์ ได้มีการขุดค้นพบโครงกระดูกเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับที่ทำด้วยหิน แก้ว และสำริด โดยเฉพาะลุกปัดที่ทำด้วยแก้วและหินมีค่า พบค่อนข้างหนาแน่น และยังพบหลักฐานการติดต่อกันระหว่างชุมชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย พอย่างเข้าสู่ยุคต้นของประวัติศาสตร์ชาติไทยหรือที่นิยมเรียกว่ายุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ หลังจากที่ชุมชนดังกล่าวได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมของอินเดียแล้ว ได้มีการพัฒนาขึ้นเป็นเมืองที่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ[1]





ยุควัฒนธรรมมอญโบราณหรือทวาราวดี (ระหว่างพุทธศตวรรษที่  11 – 16) ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 – 15 วัฒนธรรมมอญในภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งก่อตัวขึ้นจากการรับเอาอารยธรรมอินเดียเข้ามานั้น ได้เจริญรุ่งเรืองจนถึงขีดสุด ดังได้พบโบราณวัตถุสถานจำนวนมาก ที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ ในบริเวณจังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี ลพบุรี ปราจีนบุรีและเพชรบูรณ์ เป็นต้น[2] ในจังหวัดสระบุรีก็ได้พบโบราณสถานยุคทวาราวดี คือ ภาพจำหลักนูนต่ำที่ผนังถ้ำพระงาม เขาน้ำพุ ห้องที่อำเภอแก่งคอย เป็นภาพพระพุทธองค์ประทับบนบัลลังค์กำลังทรงแสดงธรรมโปรดพระพรหม พระวิษณุ[3]        


[1] ศรีศักร วัลลิโภดม, “ความก้าวหน้าและข้อคิดเห็นใหม่ในการศึกษาโบราณคดีที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา.” เมืองโบราณ, ปีที่ 10, ฉบับที่ 4 (ตุลาคม ธันวาคม 2503), หน้า 11
[2] กองพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, นำชมห้องแสดงประวัติศาสตร์ไทยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร (กรุงเทพ : อมรินทร์การพิมพ์), หน้า 5
[3] ธนิต อยู่โพธิ์ ,พรหมสี่หน้า (พระนคร : กรมศิลปากร, 2504),หน้า 11



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...