Blogger templates

6/21/2555

หลักฐานโบราณคดีที่ปรากฏอยู่ที่เมืองยุทธศาสตร์ทางทะเล

 หลักฐานโบราณคดีที่ปรากฏอยู่ที่เมืองยุทธศาสตร์ทางทะเล



    ในที่นี้จะเสนอการสำรวจตรวจสอบหลักฐานทางโบราณคดีที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันเปรียบเทียบกับแบบแปลนแผนผังที่ลามาร์เข้ามาเขียนไว้เมื่อปีพุทธศักราช ๒๒๓๐ กับข้อมูลเอกสารประวัติศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ว่า ร่องรอยสภาพเมืองและป้อมปราการที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
สร้างมาก่อนสมัยการเขียนแบบแปลนแผนผังของลามาร์ หรือมีการสร้างขึ้นตามแบบแปลนแผนผังนี้บ้างหรือไม่ อย่างไร
            ลามาร์ได้เดินทางออกจากกรุงศรีอยุธยาไปปฏิบัติภารกิจในเมืองนครศรีธรรมราช พัทลุงและสงขลา เมื่อวันที่ ๒มีนาคม ค..๑๖๘๖ (..๒๒๒๙โดยพระบรมราชโองการของสมเด็จพระนารายณ์ เพื่อไปสำรวจ ออกแบบเพื่อเสริมความมั่นคงทางด้านยุทธศาสตร์ให้กับเมืองดังกล่าว และกลับถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ปีเดียวกัน
            เมืองนครศรีธรรมราช ลามาร์ได้บันทึกไว้ว่าเมืองนครศรีธรรมราชตั้งอยู่บนสันทราย กำแพงเดิมค่อนข้างปรักหักพัง มีป้อมเล็กๆหลายป้อมดังที่เขียนอยู่ในแผนผัง ตัวกำแพงมีความหนา ๓ เมตร ในขณะที่ลามาร์เดินทางไปถึงได้มีการก่อสร้างป้อมแล้วเสร็จป้อมหนึ่งโดยใช้เวลาสร้าง ๓ เดือน ป้อมนั้นแข็งแรงดี ส่วนป้อมอื่นๆได้ก่อสร้างหลังจากลามาร์เดินทางกลับกรุงศรีอยุธยาแล้ว
            ลามาร์ได้เขียนผังโดยใช้เส้นแรเงาแนวทึบแทนเส้นทางน้ำซึ่งในที่นี้ก็คือคูเมืองที่ล้อมรอบเมืองทั้ง ๔ ด้านนั่นเอง แนวเส้นประแสดงถึงแนวกำแพงเก่าที่ก่อสร้างมาแต่เดิม ส่วนเส้นทึบหมายถึงแนวกำแพงใหม่ซึ่งกำลังสร้าง ลามาร์ได้แนะนำให้ก่อสร้างป้อมใหม่เป็นรูปแฉกดาวเพื่อเสริมแนวป้องกันข้าศึกในรูปแบบใหม่ซึ่งมีประสิทธิภาพกว่าเดิม โดยแนะนำให้สร้างที่กึ่งกลางแนวกำแพงเมืองทิศเหนือและใต้เพื่อเป็นแนวต้านข้าศึกเข้ายึดทางประตูเมืองใหญ่ โดยลามาร์ได้เขียนแนวของป้อมและคูน้ำรูปแฉกดาวลงไปในผังด้วย
            จากหลักฐานทางโบราณคดีในปัจจุบันพบว่าแนวกำแพงเมืองทั้ง ๔ ด้าน ตามที่ได้ระบุไว้ในแผนผังและบันทึกของลามาร์ซึ่งสร้างขึ้นในช่วงที่พระยารามเดโชเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชนั้นได้ถูกรื้อเกลี่ยลงในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยได้ปรับเปลี่ยนเป็นแนวถนน เหลือแต่กำแพงเมืองด้านทิศเหนือซึ่งเหลือซากอยู่เพียงเล็กน้อย ส่วนคูเมืองทั้ง ๔ ด้านก็ตื้นเขินตามกาลเวลาที่ล่วงไป
            แนวป้อมรูปแฉกดาวที่กึ่งกลางแนวกำแพงเมืองด้านเหนือและด้านใต้ ซึ่งลามาร์ได้เขียนลงในแผนผังนั้น ยังไม่พบหลักฐานที่แน่ชัดในปัจจุบันว่าได้มีการก่อสร้างตามแนวความคิดของลามาร์หรือไม่ เพราะสภาพกำแพงเมืองเก่าที่โดนรื้อเกลี่ยลง รวมทั้งการรุกล้ำที่สาธารณะในยุคต่อๆมาได้ทำลายหลักฐานทางโบราณคดีดั้งเดิมไปจนหมด
            เมืองพัทลุง จากรายงานของลามาร์ กล่าวว่าเมืองพัทลุงอยู่ใกล้กับเมืองสงขลา และมีสภาพเหมาะสมที่จะใช้เป็นที่มั่นเพราะจะไม่ถูกโจมตีจากกองทัพต่างชาติ เนื่องจากพัทลุงมีป้อมปราการธรรมชาติเป็นภูเขาสูงทั้ง ๓ ด้าน โดยที่กำแพงภูเขาเป็นปราการที่ยากต่อการโจมตีเพราะเป็นหินแข็งแรง
            ลามาร์ยังบันทึกไว้ว่าเมืองพัทลุงมีประชากรมากพอประมาณ ในแผนผังลามาร์ได้เขียนแนวเส้นประซึ่งหมายถึงแนวคันรั้วกำแพงเดิมที่ปรากฏอยู่แล้วแต่เป็นไม้และแนวต้นไม้ ส่วนเส้นสีดำจะต้องก่อสร้างเป็นแนวกำแพงอิฐรวมทั้งป้อมรักษาการณ์ตามแนวกำแพงอิฐเป็นระยะๆ
            ส่วนป้อมเล็กๆที่มุมเมืองที่ลามาร์เขียนไว้นั้น ลามาร์กล่าวไว้ในรายงานว่าได้ก่อสร้างแล้วเสร็จหลังจากที่ลามาร์เดินทางกลับถึงกรุงศรีอยุธยา
            จากหลักฐานที่เหลืออยู่ในปัจจุบันพบว่าเมืองพัทลุงอันเป็นเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตามบันทึกของลามาร์นี้คือเมืองโบราณที่ตั้งอยู่ ณบริเวณที่เรียกว่าเขาไชยบุรี ร่องรอยที่เหลืออยู่คือป้อมที่ลามาร์ได้ใช้ภูเขาเล็กๆทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองก่ออิฐสร้างให้เป็นป้อม(ปัจจุบันบนยอดเขาเล็กๆลูกนี้เป็นที่ประดิษฐานเจดีย์ขนาดย่อม)
            แนวเส้นทึบที่ลามาร์ออกแบบไว้ให้เป็นแนวกำแพงอิฐและป้อมรูปแฉกดาว เข้าใจว่าคงไม่ได้ก่อสร้างเพิ่มเติมจากแนวรั้วไม้เดิม เพราะไม่พบหลักฐานแนวกำแพงอิฐแต่อย่างใด
            เมืองสงขลา ลามาร์เดินทางไปสงขลาเพื่อดูทำเลที่ตั้งและประเมินศักยภาพทางด้านวิศวกรรม นาวิกศาสตร์ ตลอดจนยุทธศาสตร์และเส้นทางการค้า เพราะสมเด็จพระนารายณ์ทรงปรารภจะยกเมืองสงขลาให้ฝรั่งเศสใช้เป็นเมืองท่าในการติดต่อกับจีน บอร์เนียว มนิลาและเมืองท่าอื่น ๆ ในภูมิภาคตะวันออกไกล
            ลามาร์ซึ่งได้มาสำรวจสภาพภูมิประเทศและความเป็นไปได้ในการพัฒนาให้เป็นเมืองท่าที่สำคัญ โดยในรายงานได้กล่าวถึงสภาพภูมิศาสตร์ที่บอกว่าสงขลาเป็นเกาะ รายงานถึงสภาพชายฝั่ง การงอกตัวของแหลม สันทราย รวมทั้งศึกษาเตรียมการสร้างเขื่อนเพื่อเป็นคันกั้นน้ำเพื่อกันไม่ให้ทรายไหลย้อนจนปิดปากอ่าว รวมทั้งทำเลในการจอดเรือซึ่งลามาร์รายงานว่าสามารถจอดเรือได้ถึง ๘๐ ลำ และสามารถใช้เกาะแมวเป็นที่กำบังคลื่นลมได้ หากเกิดพายุลมแรง เรือสินค้าที่จอดอยู่ก็จะไม่เสียหายมากนัก
           เหตุผลอย่างหนึ่งซึ่งประกอบการตัดสินใจในการเลือกสงขลาเป็นเมืองท่าสำคัญ กล่าวคือลามาร์ได้รายงานว่าห่างจากสงขลาไป ๘ กิโลเมตรก็จะพบทุ่งนาซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้น
ข้าวพอที่จะเลี้ยงประชาชนได้ ส่วนผักนั้นสามารถหาได้จากปัตตานีซึ่งอยู่ห่างไปทางทะเลเพียง ๖๐ กิโลเมตร ด้านหลังของเมืองสงขลามีทางน้ำภายในที่เดินทางไปทางไทรบุรี (เคดาห์)ได้ ซึ่ง
พระนารายณ์เคยมีพระราชดำริที่จะพัฒนาเส้นทางลัดข้ามคาบสมุทรเป็นเส้นคมนาคมสำคัญ
           ศักยภาพอื่น ๆ ของสงขลาอันเหมาะสมที่จะเป็นเมืองท่า คือน้ำจืดหาได้ไม่ยากเพียงแต่ขุดบ่อ น้ำก็จะซึมออกมา ส่วนวัสดุก่อสร้างที่จะใช้ในการสร้างป้อมปราการ ฯลฯ ก็ใช้หินจากหัวเขาแดง เพราะเป็นก้อนหินแผ่นแบนตัดมาใช้ในการก่อสร้างง่าย ส่วนปูนก็หาได้จากเกาะสี่เกาะห้ากลางทะเลสาบสงขลา ซึ่งใช้เวลาในการเดินทาง ๒ วัน สำหรับทรายก่อสร้างหาได้ทั่ว ๆ ไป
            ในบรรดาสิ่งก่อสร้างในการป้องกันเมืองนั้น ไม่ปรากฏคูเมือง ยกเว้นคูเมืองด้านทิศตะวันตกทางตอนหน้าของป้อมปืน ส่วนที่เหลือนั้นเป็นกำแพงธรรมดา ๆ บนยอดเขานั้นมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อกักน้ำฝน เพราะวัสดุในการก่อสร้างหาได้ไม่ยาก
            นอกเมืองไม่ปรากฏสิ่งก่อสร้าง แต่ควรจะก่อสร้างป้อมนอกเมืองด้านตะวันตก ส่วนบรรดาค่าก่อสร้างและรายละเอียดอย่างอื่นนั้น ลามาร์ไม่ได้คำนวณไว้เพราะไม่สามารถปีนขึ้นบนยอดเขาได้ และการก่อสร้างทั้งหลายควรจะดูถึงความคุ้มค่าด้วย
           เมื่อพิจารณาจากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าป้อมค่ายที่ลามาร์ได้ทำผังไว้นั้น ปัจจุบันยังปรากฏอยู่ครบถ้วนรวมทั้งสิ้น ๑๔ ป้อม คือ
            ป้อมบนที่ราบและเชิงเขา จำนวน ๖ ป้อม เป็นป้อมมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม
            ป้อมบนเขาและบนไหล่เขา รวม ๗ ป้อม ลักษณะเป็นป้อมผังรูปสี่เหลี่ยมเช่นเดียวกัน
            ป้อมชายฝั่งทะเล ซึ่งปรากฏในผังของลามาร์ปัจจุบันถูกกัดเซาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแนวฝั่งทะเลจนปัจจุบันไม่ปรากฏหลักฐานแล้ว
            ลามาร์ได้เพียงแต่มาสำรวจศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างเมืองท่าเท่านั้น ไม่ได้เสนอแนวการเสริมความมั่นคงทางด้านทหารแต่อย่างใด อาจจะเป็นเพราะเดิมได้ทำไว้ดีแล้ว เพียงแต่แนะนำการสร้างป้อมนอกเมืองด้านตะวันตกและดำริในการสร้างอ่างเก็บน้ำบนยอดเขา งานส่วนใหญ่ของลามาร์ที่สงขลาจึงเป็นเพียงการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเมืองท่าตะวันออกของฝรั่งเศสเท่านั้น โดยได้ศึกษางานด้านวิศวกรรม นาวิกศาสตร์ อุตุนิยม พาณิชย์ศาสตร์ พาณิชย์นาวีมากกว่าด้านยุทธศาสตร์
  

                                                            บรรณานุกรม
ศิลปากร, กรม  พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม    ไอเดียสแควร์                                  
    กรุงเทพ๒๕๓๕
ศิลปากร, กรม   ประชุมพงศาวดารฉบับหอสมุดแห่งชาติ ภาค ๑๒ภาค ๑๘ภาค ๓๒,ภาค  
   ๓๔ภาค ๓๖ภาค ๓๗ภาค ๓๘ภาค ๔๖ภาค ๔๗ภาค ๔๘ภาค ๔๙ภาค ๔๐,ภาค
   ๔๑ภาค ๔๒, ภาค ๔๓ภาค ๔๔ สำนักพิมพ์ก้าวหน้า พระนคร ๒๕๑๓
ศิลปากร, กรม   จดหมายเหตุการแพร่ศาสนาและการเดินทางของบรรดาพระสังฆราช
   ประมุขมิสซังและของพระสงฆ์ในปกครองในปี ค.๑๖๗๒ - .๑๖๗๕ (นายปอล
      ซาเวีย์ แปล), พิมพ์ครั้งแรก ๒๕๒๓
ศิลปากร, กรม การเดินทางของบาดหลวงตาชารด์ เล่ม ๑ -  ฉบับลายมือเขียนที่คัดมา
   จากต่างประเทศ ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร กรุงเทพพิมพ์ครั้งแรก พ.๒๕๒๑
ศิลปากร, กรม    จดหมายเหตุการเดินทางครั้งที่ ๒ ของบาดหลวงตาชารด์ .๑๖๘๗ -
   ๑๖๘๘ (นายสันต์ ทโกมลบุตร แปล), โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว กรุงเทพมหานครพิมพ์
   ครั้งแรก พ.๒๕๑๙
ศิลปากร, กรม   เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติ ของกระทรวงทหารเรือ(ฝรั่ง
   เศสเกี่ยวกับประเทศสยาม ค.๑๖๘๔ - ๑๗๐๐ (.๒๒๒๗ - ๒๒๔๒) โรงพิมพ์การ
   ศาสนาพิมพ์ครั้งแรก พ.๒๕๒๔
ศิลปากร, กรม   เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติ ของกระทรวงทหารเรือ(ฝรั่ง
   เศสเกี่ยวกับประเทศสยาม เล่ม ๒ .๑๖๘๗ - ๑๗๐๐ (.๒๒๓๐ - ๒๒๔๓)
   (นายสันต์ ทโกมลบุตร แปล), พิมพ์ครั้งแรก พ.๒๕๒๗
เดอ ชัวซีย์,บาดหลวง จดหมายเหตุรายวันการเดินทางไปสู่ประเทศสยามในปี ค.๑๖๘๕
   และ ๑๖๘๖(สันต์ ท.โกมลบุตร แปล) สำนักพิมพ์ก้าวหน้า กรุงเทพฯ พิมพ์ครั้งแรก พ..๒๕๑๖
La Marre. Description du Royaume de Siam 1687 Manuscrit Original, 18 Decembre 1687.  
   ParisFrance.
Service historique de La Marine VincennesCote du document : Recueii 62 Rif . du
   cliche No. 52 Recueil 62 No. 74, Plan original. par La MarreFrance.
Jacq - Hergoualc’h, Michel   Catalogue: Phra Narai, Roi de Siam e Louis XIV.    
   Musee de l’Orangerie 13 Juin - 13 Juillet 1986 Association Francaise d’ Action
   Artistique, PARIS. , 1986.
Jacq - Hergoualc’h, Michel. L’Europe et Le Siam du XVI au XVIII   Siecle :
   Apport culturels   Edition L’Harmattan, Paris., 1993.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...