Blogger templates

6/08/2553

การคล้องช้าง

การคล้องช้างในเพนียด
           .....อนึ่งการคล้องช้างในเพนียดแต่เดิมนั้นมิได้มีแต่พิธีหลวง แต่จะพบในดินแดนที่มีช้างป่ามาก ๆ เช่น ในอินเดียใต้ ลังกา และมาเลเซียแถบรัฐไทรบุรี หรือเคดาร์ ซึ่งมีรายละเอียดขั้นตอนคล้องช้างคล้ายกับการคล้องช้างในเพนียดหลวง นั่นคือ

           เมื่อช้างโขลงหรือช้างเถื่อนถูกต้อนมาจนถึงเพนียดจะไม่รู้สึกกลัวนัก แต่พอผ่านเข้าไปในปีกกา ของเพนียดแล้ว สังเกตว่าโขลงรู้สึกหวาดหวั่นมาก ร้องเสียงดังลั่น แต่ก็ไม่อาจจะฝ่าช้างบ้านที่กันอยู่ออกไปได้จึงปล่อยให้ช้างนำนำเข้าไปใน เพนียดแต่เชือกเดียว บรรดาโขลงที่ถูกต้อนมานี้ ถ้าเป็นช้างเถื่อนทีเคยถูกต้อนมาหลายหน จะรู้สึกคุ้นเคยก็เดินเข้าเพนียดง่าย ช้างพวกนี้เรียกว่า "ช้างเวร" เป็นการทำให้ช้างเถื่อนที่ยังไม่เคยถูกต้อนมา ตามเข้าไปในเพนียดด้วยทุกครั้ง ๆ ละ 20-40 เชือก เมื่อช้างเข้าเพนียดเรียบร้อยแล้ว ก็พักรอไว้ให้คล้องในวันรุ่งขึ้น

           วันที่จะทำการคล้องนั้น จะจัดช้างต่อ 5-7 เชือก เข้ามาในเพนียด โดยมีเครื่องมือคือ เชือกบาศ คันจาม ขอ และ งก เชือกบาศนั้นเป็นเชือกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว ยาวประมาณ 8 วา ตรงปลายด้านหนึ่งทำเป็นบ่วงรูดได้ ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งนำมาร้อยเข้ากับเชือกที่ผูกคอช้างต่อ คันจามนั้นเป็นไม้รวกยาวประมาณ 6 ศอกกว่ามีปลายเรียวสำหรับยัดเข้าไปในช่องรูดของเชือกบาศ ส่วนขอเป็นอาวุธที่หมอช้างถือ และงกเป็นอายุธที่ควาญท้ายถือ

           พวกช้างต่อจะถูกขับเข้าไปทางซองด้านตะวันตก ส่วนควาญก็ช่วยกนทามเชือกบาศไปคอยอยู่ที่ริมเพนียดหลายเส้น กับกระบอกใส่น้ำหลายกระบอก เมื่อช้างต่อเข้าไปพร้อมกันแล้ว ก็ไปไล่โขลงให้วิ่งเวียนไปรอบ ๆ อยู่ในเพนียด เมื่อเห็นว่าช้างเถื่อนเชือกใดจะเป็นช้างพลายหรือช้างพังก็ได้ ที่มีขนาดพอใช้การและฝึกหัดได้ ซึ่งมักเป็นช้างขนาดกลาง คือ สูงขนาด 3 ศอกเศษ ก็ขับช้างต่อไล่กระชั้นเข้าไป พอได้ทีก็ดักหรือสอดบ่วงบาศให้เข้าไปติดในเท้าช้างเถื่อน และชักไม้มา กระชากเชือกให้รูดเข้าไปให้ติดแน่นอยู่กับเท้าช้าง เมื่อติดแน่นแล้ว ก็เกี่ยวช้างต่อให้กระหลบกลับหลัง ควาญท้ายต้องทิ้งเชือกบาศลงไปทั้งเส้น เรียกว่า เบาะ แล้วไสช้างต่อให้วิ่งสวนทางกลับมาจนกว่าเชือกที่ติดเท้าช้างเถื่อนนั้นถึง แน่นดีแล้วก็แก้เชือกที่ผูกคอช้างต่ออกปล่อยให้เชือกบาศหลุดติดเท้าช้าง เถื่อนไปโดยช้างเถื่อนจะถูกคล้องด้วยเชือกบาศ ตัวละ 2 บาศ บ้าง 3 บาศ บ้างแล้วช้างต่อนั้นก็ไปรับเชือกบาศมาอีก แล้วช่วยกันเอาคันเชือกบาศที่คล้องที่คล้องติดเท้าช้างแล้ว เข้าพันกับเสาเพนียดให้แน่นหนา โดยแยกผูกให้ห่างกัน การผูกนั้นต้องจับเชือกบาศให้เท่ากันแล้วจึงผูก เพื่อว่าเมื่อช้างเถื่อนดึงไป ให้ดึงพร้อมกันเชือกจะได้ไม่ขาด เมื่อผูกแน่นดีแล้วก็พาช้างนำเข้ามาในเพนียดทางช่องด้านตะวันตกแล้วเปิด โตงเตงไว้พอช้างเถื่อนหันมาเห็นช้างตัวนำก็ไสช้างนำออกไปแล้วไล่ให้ออกไปอาบ น้ำ ส่วนช้างที่ติดเชือกบาศจะตามออกไปไม่ได้ ก็ดินแทงเสาแทงดินและร้องครวญคราง ตอนนี้ช้างต่อก็จะเข้ามาเทียบด้านข้างช้างที่ติดบ่วงบาศข้างละเชือก ก็เอาหลายทบกันเข้าหลายเส้นจนใหญ่ขนาดเท่าข้อมือและมีความยาวพอพันรอบคอช้าง ได้ เรียกว่า สายทาม เพื่อผูกคอข้างเถื่อนให้แน่น แล้วเอาเชือกโยงจากสายทามที่ผูกคอช้างเถื่อนมาเข้าผนึก คือนำมาร้อยผูกเข้ากับสายทามช้างต่อทั้ง 2 ข้าง เมื่อเข้าผนึกแน่นหนาดีแล้ว ก็เอาน้ำมาเทรดลงที่คอ ศีรษะ และหลังช้างเถื่อน เพื่อให้สายทามเหนียมและให้ช้างเถื่อนชื่นใจ ลดอาละวาดลง เมื่อเสร็จแล้วก็แก้คันเชือกบาศที่ผูกเสาออก พาเดินออกไปทางด้านทิศตะวันตก โดยมีช้างต่อรุนท้าย พอถึงซอง ก็เอาคันเชือกบาศผูกเข้ากับเสาเพนียดอีกครั้งผูกให้ช้างเถื่อนออกไปพ้นซอง ได้ประมาณ 6 ศอก พอผูกมั่นคงแล้วก็แก้ผนึกออก เปิดโตงเตงปล่อยให้ช้างเถื่อนออกไป และช้างต่อก็ตามออกไปเข้าผนึกด้านนอกอีกครั้งหนึ่ง เพราะซองนั้นแคบ จำเพาะเข้าออกได้แต่เชือกเดียว จึงต้องผนึกครั้งที่ 2 แล้ว ก็พาไปผูกไว้ที่เสาตลุงในโรงเพื่อในไปฝึกต่อไป

การคล้องช้างหรือจับช้างในซอง
           .....การ ขับช้างในซอง เป็นการคล้องช้างในคอก หรือเพนียดอีกวิธีหนึ่งที่นิยมมากในภาคใต้ โดยเฉพาะในเขตจังหวัดพัทลุงและกระบี่ การจับช้างในซองเป็นการจับช้างขนาดใหญ่ที่ช้างต่อธรรมดาไม่สามารถเข้าไปผนึก หรือทานกำลังได้ ดังนั้นจึงระบายโขลงออกไปทางซองด้านตะวันตก เมื่อต้องการช้างเชือกใด พอเชือกนั้นเข้าไปในซองคนควบคุมโตงเตงก็จะปล่อยโตงเตงให้ปิดปากซองเสียทั้ง สองด้าน แล้วเอาสายทามผูกคอ จากนั้นเอาเชือกขนาดกลางที่เรียกว่า สายปีกไก่ ผูกที่ไพรงา รั้งเข้ามาผูกกับสายทามที่ฟูกคอช้างเถื่อนนั้นให้ตึง จนหน้าช้างเถื่อนนั้นง้ำและผูกสายทามอีกเส้นหนึ่งร้อยมาตามห่วงของสายปีกไก่ ที่ผูกไพรงามีหางสายสูตรต่อไปด้านหน้าช้างเถื่อนประมาณ 1 เส้น สายสูตรนี้บางตัวผูกแต่งาข้างเดียว หรือบางทีผูกทั้ง 2 งา เป็น 2 เส้น แล้วเอาสอดเชือกบาศ ผูกเท้าหลังทั้ง 2 ข้าง ๆ ละ 3-4 ครั้ง แล้วกระหวัดต้นเชือกบาศเข้ากับกว้านซึ่งอยู่ริมซอง ที่สามารถจับช้างเถื่อนนี้ได้ก็เพราะในซองนั้นเป็นที่บังคับ คือกลับตัวไม่ได้ และพวกหมอช้างและควาญมีความชำนาญ จึงจับผูกได้เร็ว มิทันที่ช้างเถื่อนจะทำอันตรายได้ เมื่อผูกเสร็จแล้วก็เปิดโตงเตงด้านหน้าช้างออก ดึงสายสูตรเข้า ข้างนั้นก็วิ่งออกไป แต่ติดที่สายสูตรและสายปีกไก่ที่ผูกขาไว้ ทำให้ช้างเถื่อนไม่มีกำลังพอ จะดิ้นก็เจ็บ จากนั้นดึงสายสูตรไว้ให้ช้างเถื่อนมาเทียบเข้ากับเสาตลุง ซึ่งปักไว้ริมปากซอง แต่ยังไม่พาไปอาบน้ำ เพราะเข้าผนึก ไม่ได้ จึงใช้วิธีรดน้ำให้ และเมื่อนำไปโรงใหญ่ได้แล้วก็เอาไปลี้ยงจนกว่าจะเชื่องดี แต่การที่จับช้างใหญ่มักจะเลี้ยงไม่รอดตายเสียเป็นส่วนมากเพราะบอบช้ำจากการ ถูกจับถูกตีในระหว่างฝึก

การจับช้างด้วยวิธีหลุมพราง
           การจับช้างด้วยวิธีหลุมพรางหรือหลุมลวง เป็นการจับย่อย เพราะหลุมที่ขุดมีขนาดยาว 6 ศอก กว้าง 1 วา ลึก 5 ศอก และจะติดช้างเถื่อนหลุมละ 2-3 เชือก หลุมที่ขุดนี้ที่ปากหลุมทั้ง 4 ด้านต้องเซาะดินทำลิ้นสำหรับวางไม้เคร่า หรือไม้ฟาก แล้วใช้ดินและใบไม้กลบทับบนปากหลุม เพื่อช้างจะได้ไม่สงสัย การเลือกที่ขุดหลุมนั้นต้องเลือกในซอกห้วยหรือกิ่วเขา จะเป็นป่าชนิดใดก็ได้ แต่ต้องเป็นทางเดินของช้าง ที่เรียกว่า ด่านช้าง เมื่อเลือกที่ได้แล้วก็จะขุดหลุมไว้กลางด่านช้าง แล้วใช้คนประมาณ 10 คน ช่วยกันไล่ช้างให้ตื่น และพยายามไล่ให้ช้ารงเดินเข้าแนวด่าน เมื่อช้างวิ่งจวนจะถึงหลุมพรางให้โห่ร้องเพื่อให้ช้างตื่น และวิ่งโดยเร็วทรงตัวไม่ได้ และพลัดตกลงในหลุม จากนั้นพวกควาญจะช่วยกันทำซองอย่างจับช้างเข้าปลอกไว้หน้าหลุมโดยเร็วที่สุด โดยเตรียมไม้ที่จะทำซองไว้ให้พร้อมก่อนที่ช้างจะตกหลุม เสร็จแล้วก็หาไม้ท่อนหรือเสาขนาดใหญ่ ทิ้งลงไปในหลุมหลาย ๆ ท่อน เพื่อให้ช้างสามารถเหยียบก้าวขึ้นบนปากหลุมเข้าซองเมื่อช้างเข้าซองแล้วก็ ใช้ไม้ท่อนสอดเข้าไปในระหว่างขาหน้ากับขาหลังเพื่อให้ช้างตรึงตัว แล้วคนที่อยู่ด้านนอกก็เข้ามาทางนอกซอง ใช้เชือกมัดโคนขาให้แน่นกับเสาซอง และใช้เชือกมัดเท้าหลังไว้อีกเส้นหนึ่งแล้คล้องเท้าหน้าอีกขาหนึ่ง รวบให้ติดกันอย่างตกปลอกให้แน่นหนา แต่ครั้งนี้ใส่รัดประโคนกับสายทามคอย่างคล้องช้างกลางแปลง เมื่อเสร็จแล้วก็นำช้างต่อเข้าเทียบ คือมัดทามคอติดกับช้างต่อ และรื้อซองออก จากนั้นนำช้างไปโยงไว้กับต้นไม้อย่างเดียวกับแซกโพนช้าง

การคล้องช้างหรือการจับช้างกลางน้ำ
           การคล้องช้างหรือการจับช้างกลางน้ำนี้ ต้องเป็นทำเลป่าท้องทุ่งที่มีน้ำลึกและเป็นบริเวณที่ช้างชอบหากินอยู่ทั้ง กลางวันและกลางคืน การจับช้างกลางน้ำนี้ต้องใช้จับเฉพาะกลางวันและใช้เรือเป็นพาหนะแทนช้าง ประมาณ 10 ลำ แต่ละลำยาว 3 วา เรือที่จะใช้จะก้าวสะกดรอยเที่ยวตามหาช้างป่า เรือนี้จะต้องใช้ทั้งพาหนะแทนช้างประมาณ 10 ลำ แต่ละลำยาว 3 วา เรือที่ใช้จะก้าวสะกดรอยเที่ยวตามหาช้างป่า เรือนี้จะต้องใช้ทั้งพายและถ่อ มีคนท้ายเรือที่แข็งแรง คนช่วยถ่ออยู่กลางลำ ส่วนคนคล้องอยู่ทีหัวเรือโดยมีไม้ยาว เช่นเดียวกับคันจาม มีบ่วงติดปลายไม้ แต่บ่วงนี้กว้างกว่าคันจามทั่วไป คือกว้างประมาณศอกคืบ และใช้เชือกมนิลาขนาดใหญ่เท่าข้อมือแทนเชือกบาศที่ทำด้วยหนัง


ที่มาของภาพ http://th.wikipedia.org/wiki/


           วิธีคล้องก็ทำเมื่อไล่ทันช้าง ผู้คล้องก็จะยกบ่วงขึ้นพาดให้เลยหัวช้างไปประมาณ 1 ศอก ทิ้งบ่วงให้จมลงไปในน้ำครึ่งหนึ่ง เมื่อช้างยกงวงขึ้นปัดบ่วง ให้ผู้คล้องรีบกดปลายไม้ลงไปในน้ำให้จังหวะบ่วงลอดใต้คางช้างอย่างรวดเร็ว และรูดเลยใบหูเข้ามา บ่วงก็จะไม่หลุดจากคอช้าง แล้วเรือที่คล้องก็เบนลำออกจากสายที่คล้องปล่อยให้เส้นเชือกบ่วงไว้กับเรือ ที่ไปด้วย ช้างที่ถูกคล้องจะรีบว่ายน้ำหนีไปข้างหน้า พวกเรือที่ยึดเชือกก็จะถือกรานไว้ไว้ ปล่อยไปตามช้างบ้าง จนช้างเหนื่อยอ่อนกำลัง ช้างต่อซึ่งคอยอยู่ตามริมฝั่งและมีทามคอสำหรับมัดติดกับคอช้างต่อก็ตามมา สมทบโยนทามคล้องคอติดกับคอช้างต่อ เสร็จแล้วก็แก้บ่วงที่คล้องออกจากคอช้างป่า แล้วนำไปโยงกับต้นไม้เพื่อตกปลอกและนำไปฝึกต่อต่อไป

วิธีจับช้างด้วยวิธีใช้ช้างต่อ
           การจับ ช้างด้วยวิธีใช้ช้างต่อนั้น เป็นวิธีจับช้างอีกวิธีหนึ่ง การใช้ช้างต่อนี้แปลกไปจกการใช้กับสัตว์ชนิดอื่น เช่น นก เพราะแทนที่จะใช้ช้างพลาย กับใช้ช้างพัง ซึ่งเจ้าเของเลี้ยงแบบปล่อยให้อิสระ และไปหาช้างพลายในป่าเอง โดยมีเชือกใหญ่ผูกติดตัวไปด้วย ช้างพังที่ใช้เป็นช้างต่อนี้ถูกฝึกมาอย่างดีในการผูกปมเชือก และจับสัตว์พวกเดียวกันมาให้มนุษย์ใช้

           ช้างต่อนี้ก่อนจะเข้าป่า เจ้าของจะพาไปอาบน้ำและแต่งตัวชะโลมเครื่องหอม และผูกเชือกให้ แล้วปล่อยเข้าป่าไป ส่วนตัวเองก็ตามไปห่าง ๆ เมื่อช้างต่อพบช้างป่าก็เข้าไปร้องคำรามเป็นเชิงทักทานแต่ไกล เมื่อช้างป่าสนใจก็เข้าไปเคล้าเคลีย ใช้งวงลูบคลำจนช้างป่าตายใจ ก็เริ่มเอาเชือกที่ติดไปนั้นใช้งวงผูกเท้าช้างป่าไว้จนแน่น เพราะช้างต่อนี้ชำนาญขมวดปม ทำเงื่อนได้เร็วไม่แพ้คน

           ส่วนช้างป่าที่เป็นตัวผู้นั้น กว่าจะรู้สึกตัวว่าถูกผูกจับแล้ว ก็พอดีคนที่ตามช้างต่อมาถึงตัวเสียก่อน จะวิ่งหนีหรือจะสู้ก็ไม่ถนัด เพราะเชือกนั้นรัดเท้าแน่นแล้ว คนที่ตามมาทันก็จับเข้าผนึก และนำมาฝึกหัดไว้ใช้งานต่อไป

ข้อมูลจาก : วังช้างอยุธยา แล เพนียด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...