Blogger templates

7/19/2555

คำขวัญประจำจังหวัด


คำขวัญประจำจังหวัด

คำขวัญประจำจังหวัด เป็นคำขวัญที่แต่ละจังหวัดในประเทศไทยแต่งขึ้น เพื่อบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ ความภาคภูมิใจ และความโดดเด่นที่มีอยู่ในจังหวัดนั้นๆ แยกตามภาคได้ดังนี้

ภาคกลาง

กรุงเทพมหานคร - ทั้งชีวิต เราดูแล

จังหวัดนนทบุรี - ทุเรียนเหนือชั้น เครื่องปั้นดินเผา เมืองเก่าวัดงาม ตลาดน้ำน่าชม รื่นรมย์สวนสมเด็จ เกาะเกร็ดงามตา พฤกษานานาพันธุ์ บ้านจัดสรรเป็นเลิศ

จังหวัดปทุมธานี - ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม

จังหวัดสมุทรปราการ - ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม


จังหวัดอุทัยธานี - อุทัยธานี เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้ำตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ

จังหวัดชัยนาท - หลวงปู่ศุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ นามระบือสวนนก ส้มโอดกขาวแตงกวา

จังหวัดอ่างทอง - พระสมเด็จเกษไชโย หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ วีรไทยใจกล้า ตุ๊กตาชาววัง โด่งดังจักสาน ถิ่นฐานทำกลอง เมืองสองพระนอน

จังหวัดสิงห์บุรี - ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน นามกระฉ่อนช่อนแม่ลา เทศกาลกินปลาประจำปี
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา - ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา

จังหวัดลพบุรี - วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเลื่อง เมืองแห่งดินสอพอง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เกริกก้อง แผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์

จังหวัดสระบุรี - พระพุทธบาทสูงค่า เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ฐานผลิตอุตสาหกรรม เกษตรนำล้ำแหล่งเที่ยว หนึ่งเดียวกะหรี่ปั๊บนมดี ประเพณีตักบาตรดอกไม้งาม เหลืองอร่ามทุ่งทานตะวัน ลือลั่นเมืองชุมทาง

จังหวัดชลบุรี - ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยหวาน จักสานดี ประเพณีวิ่งควาย

จังหวัดฉะเชิงเทรา - แม่น้ำบางปะกงแหล่งชีวิต พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย อ่างฤๅไนป่าสมบูรณ์

จังหวัดนครนายก - นครนายก เมืองในฝันที่ใกล้กรุง ภูเขางาม น้ำตกสวย รวยธรรมชาติ ปราศจากมลพิษ

จังหวัดปราจีนบุรี - ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมือง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวาราวดี

จังหวัดจันทบุรี - น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูร สมบูรณ์ธรรมชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รวมญาติกู้ชาติที่จันทบุรี


จังหวัดตราด - เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา

จังหวัดระยอง - ผลไม้รสล้ำ อุตสาหกรรมก้าวหน้า น้ำปลารสเด็ด เกาะเสม็ดสวยหรู สุนทรภู่กวีเอก

จังหวัดสระแก้ว - ชายแดนเบื้องบูรพา ป่างามน้ำตกสวย มากด้วยรอยอารยธรรมโบราณ ย่านการค้าไทย-เขมร

จังหวัดนครปฐม - ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น พุทธมณฑลคู่ธานี พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า

จังหวัดราชบุรี - คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนินฯ เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี

จังหวัดสมุทรสงคราม - เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม

จังหวัดสมุทรสาคร - เมืองประมง ดงโรงงาน ลานเกษตร เขตประวัติศาสตร์

จังหวัดสุพรรณบุรี - สุพรรณบุรี เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง

จังหวัดกาญจนบุรี - แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่น้ำตก

จังหวัดเพชรบุรี - เขาวังคู่บ้าน ขนมหวานเมืองพระ เลิศล้ำศิลปะ แดนธรรมะ ทะเลงาม

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ - เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าวสับปะรด สวยสด หาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ


ภาคเหนือ

จังหวัดเชียงใหม่ - ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์

จังหวัดเชียงราย - เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง

จังหวัดลำพูน - พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวีศรีหริภุญไชย

จังหวัดลำปาง - ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก

จังหวัดแพร่ - หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม

จังหวัดน่าน - แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง

จังหวัดพะเยา - กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม

จังหวัดแม่ฮ่องสอน - หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดี ประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง

จังหวัดตาก - ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม

จังหวัดอุตรดิตถ์ - เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก

จังหวัดเพชรบูรณ์ - เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง

จังหวัดพิษณุโลก - พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา

จังหวัดสุโขทัย - มรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข

จังหวัดพิจิตร - ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ แข่งเรือยาวประเพณี พระเครื่องดีหลวงพ่อเงิน เพลิดเพลินบึงสีไฟ ศูนย์รวมใจหลวงพ่อเพชร รสเด็ดส้มท่าข่อย ข้าวเจ้าอร่อยลือเลื่อง ตำนานเมืองชาละวัน

จังหวัดกำแพงเพชร - กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ

จังหวัดนครสวรรค์ - เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบรเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จังหวัดนครราชสีมา - เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน

จังหวัดชัยภูมิ - ชัยภูมิ เมืองผู้กล้า พญาแล

จังหวัดบุรีรัมย์ - เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม

จังหวัดสุรินทร์ - สุรินทร์ ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม

จังหวัดขอนแก่น - พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองมวยโอลิมปิก

จังหวัดนครพนม - พระธาตุพนมค่าล้ำ วัฒนธรรมหลากหลาย เรณูผู้ไท เรือไฟโสภา งามตาฝั่งโขง

จังหวัดมหาสารคาม - พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักศิลานคร

จังหวัดกาฬสินธุ์ - เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไท ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี

จังหวัดร้อยเอ็ด - สิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกต บุญผะเหวดประเพณี มหาเจดีย์ชัยมงคล งามน่ายลบึงพลาญชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ

จังหวัดอุดรธานี - น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด แดนเนรมิตหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอมอุดรชันไฌน์

จังหวัดหนองคาย - วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย - ลาว

จังหวัดบึงกาฬ - สองนางศาลศักดิ์สิทธ์ อิทธิฤทธิ์หลวงพ่อใหญ่ แหล่งน้ำใสหนองกุดทิง สุดใหญ่ยิ่งแข่งเรือยาว หาดทรายขาวเป็นสง่า น่าทัศนาแก่งอาฮง งามน้ำโขงที่บึงกาฬ สุขสำราญที่ได้ยล

จังหวัดสกลนคร - พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่องหนองหาน แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม

จังหวัดหนองบัวลำภู - ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทยานแห่งชาติภูเก้า ภูพานคำ แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน

จังหวัดเลย - เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู

จังหวัดอุบลราชธานี - เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์


จังหวัดอำนาจเจริญ - พระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตพระเหลา เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม

จังหวัดยโสธร - บั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ

จังหวัดมุกดาหาร - หอแก้วสูงเสียดฟ้า ภูผาเทิบแก่งกะเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน


จังหวัดศรีสะเกษ - ศรีสะเกษ แดนปราสาทขอม หอมกระเทียมดี มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัคคี


ภาคใต้

จังหวัดชุมพร - ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรมฯ ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก

จังหวัดระนอง - คอคอดกระ ภูเขาหญ้า กาหยูหวาน น้ำแร่ มุกแท้เมืองระนอง

จังหวัดสุราษฎร์ธานี - เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ

จังหวัดนครศรีธรรมราช - เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นช่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู

จังหวัดตรัง - เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา

จังหวัดภูเก็ต - ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม

จังหวัดพังงา - แร่หมื่นล้าน บ้านกลางน้ำ ถ้ำงามตา ภูผาแปลก แมกไม้จำปูน บริบูรณ์ด้วยทรัพยากร

จังหวัดกระบี่ - แหล่งถ่านหิน ถิ่นหอยเก่า เขาตระหง่าน ธารสวย รวยเกาะ เพาะปลูกปาล์ม งามหาดทราย ใต้ทะเลสวยสด มรกตอันดามัน สวรรค์เกาะพีพี

จังหวัดพัทลุง - เมืองหนังโนราห์ อู่นาข้าว พราวน้ำตก แหล่งนกน้ำ ทะเลสาบงาม เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน

จังหวัดสงขลา - นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานติณ ถิ่นธุรกิจแดนใต้

จังหวัดยะลา - ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน

จังหวัดปัตตานี - บูดูสะอาด หาดทรายสวย รวยน้ำตก นกเขาดี ลูกหยีอร่อย หอยแครงสด

จังหวัดนราธิวาส - ทักษิณราชตำหนัก ชนรักศาสนา นราทัศน์เพลินตา ปาโจตรึงใจ แหล่งใหญ่แร่ทอง ลองกองหอมหวาน

จังหวัดสตูล - สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์






6/21/2555

แผนพัฒนาเมืองยุทธศาสตร์ทางทะเลสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช


แผนพัฒนาเมืองยุทธศาสตร์ทางทะเลสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
The Self Defense Development Plan of the City Ports in the Reign of King Narai the Great (A.D.1656 - 1688)
ธราพงศ์ ศรีสุชาติ
 Tharapong Srisuchat
           



หลักฐานโบราณคดีที่ปรากฏอยู่ที่เมืองยุทธศาสตร์ทางทะเล

 หลักฐานโบราณคดีที่ปรากฏอยู่ที่เมืองยุทธศาสตร์ทางทะเล



    ในที่นี้จะเสนอการสำรวจตรวจสอบหลักฐานทางโบราณคดีที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันเปรียบเทียบกับแบบแปลนแผนผังที่ลามาร์เข้ามาเขียนไว้เมื่อปีพุทธศักราช ๒๒๓๐ กับข้อมูลเอกสารประวัติศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ว่า ร่องรอยสภาพเมืองและป้อมปราการที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
สร้างมาก่อนสมัยการเขียนแบบแปลนแผนผังของลามาร์ หรือมีการสร้างขึ้นตามแบบแปลนแผนผังนี้บ้างหรือไม่ อย่างไร
            ลามาร์ได้เดินทางออกจากกรุงศรีอยุธยาไปปฏิบัติภารกิจในเมืองนครศรีธรรมราช พัทลุงและสงขลา เมื่อวันที่ ๒มีนาคม ค..๑๖๘๖ (..๒๒๒๙โดยพระบรมราชโองการของสมเด็จพระนารายณ์ เพื่อไปสำรวจ ออกแบบเพื่อเสริมความมั่นคงทางด้านยุทธศาสตร์ให้กับเมืองดังกล่าว และกลับถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ปีเดียวกัน
            เมืองนครศรีธรรมราช ลามาร์ได้บันทึกไว้ว่าเมืองนครศรีธรรมราชตั้งอยู่บนสันทราย กำแพงเดิมค่อนข้างปรักหักพัง มีป้อมเล็กๆหลายป้อมดังที่เขียนอยู่ในแผนผัง ตัวกำแพงมีความหนา ๓ เมตร ในขณะที่ลามาร์เดินทางไปถึงได้มีการก่อสร้างป้อมแล้วเสร็จป้อมหนึ่งโดยใช้เวลาสร้าง ๓ เดือน ป้อมนั้นแข็งแรงดี ส่วนป้อมอื่นๆได้ก่อสร้างหลังจากลามาร์เดินทางกลับกรุงศรีอยุธยาแล้ว
            ลามาร์ได้เขียนผังโดยใช้เส้นแรเงาแนวทึบแทนเส้นทางน้ำซึ่งในที่นี้ก็คือคูเมืองที่ล้อมรอบเมืองทั้ง ๔ ด้านนั่นเอง แนวเส้นประแสดงถึงแนวกำแพงเก่าที่ก่อสร้างมาแต่เดิม ส่วนเส้นทึบหมายถึงแนวกำแพงใหม่ซึ่งกำลังสร้าง ลามาร์ได้แนะนำให้ก่อสร้างป้อมใหม่เป็นรูปแฉกดาวเพื่อเสริมแนวป้องกันข้าศึกในรูปแบบใหม่ซึ่งมีประสิทธิภาพกว่าเดิม โดยแนะนำให้สร้างที่กึ่งกลางแนวกำแพงเมืองทิศเหนือและใต้เพื่อเป็นแนวต้านข้าศึกเข้ายึดทางประตูเมืองใหญ่ โดยลามาร์ได้เขียนแนวของป้อมและคูน้ำรูปแฉกดาวลงไปในผังด้วย
            จากหลักฐานทางโบราณคดีในปัจจุบันพบว่าแนวกำแพงเมืองทั้ง ๔ ด้าน ตามที่ได้ระบุไว้ในแผนผังและบันทึกของลามาร์ซึ่งสร้างขึ้นในช่วงที่พระยารามเดโชเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชนั้นได้ถูกรื้อเกลี่ยลงในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยได้ปรับเปลี่ยนเป็นแนวถนน เหลือแต่กำแพงเมืองด้านทิศเหนือซึ่งเหลือซากอยู่เพียงเล็กน้อย ส่วนคูเมืองทั้ง ๔ ด้านก็ตื้นเขินตามกาลเวลาที่ล่วงไป
            แนวป้อมรูปแฉกดาวที่กึ่งกลางแนวกำแพงเมืองด้านเหนือและด้านใต้ ซึ่งลามาร์ได้เขียนลงในแผนผังนั้น ยังไม่พบหลักฐานที่แน่ชัดในปัจจุบันว่าได้มีการก่อสร้างตามแนวความคิดของลามาร์หรือไม่ เพราะสภาพกำแพงเมืองเก่าที่โดนรื้อเกลี่ยลง รวมทั้งการรุกล้ำที่สาธารณะในยุคต่อๆมาได้ทำลายหลักฐานทางโบราณคดีดั้งเดิมไปจนหมด
            เมืองพัทลุง จากรายงานของลามาร์ กล่าวว่าเมืองพัทลุงอยู่ใกล้กับเมืองสงขลา และมีสภาพเหมาะสมที่จะใช้เป็นที่มั่นเพราะจะไม่ถูกโจมตีจากกองทัพต่างชาติ เนื่องจากพัทลุงมีป้อมปราการธรรมชาติเป็นภูเขาสูงทั้ง ๓ ด้าน โดยที่กำแพงภูเขาเป็นปราการที่ยากต่อการโจมตีเพราะเป็นหินแข็งแรง
            ลามาร์ยังบันทึกไว้ว่าเมืองพัทลุงมีประชากรมากพอประมาณ ในแผนผังลามาร์ได้เขียนแนวเส้นประซึ่งหมายถึงแนวคันรั้วกำแพงเดิมที่ปรากฏอยู่แล้วแต่เป็นไม้และแนวต้นไม้ ส่วนเส้นสีดำจะต้องก่อสร้างเป็นแนวกำแพงอิฐรวมทั้งป้อมรักษาการณ์ตามแนวกำแพงอิฐเป็นระยะๆ
            ส่วนป้อมเล็กๆที่มุมเมืองที่ลามาร์เขียนไว้นั้น ลามาร์กล่าวไว้ในรายงานว่าได้ก่อสร้างแล้วเสร็จหลังจากที่ลามาร์เดินทางกลับถึงกรุงศรีอยุธยา
            จากหลักฐานที่เหลืออยู่ในปัจจุบันพบว่าเมืองพัทลุงอันเป็นเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตามบันทึกของลามาร์นี้คือเมืองโบราณที่ตั้งอยู่ ณบริเวณที่เรียกว่าเขาไชยบุรี ร่องรอยที่เหลืออยู่คือป้อมที่ลามาร์ได้ใช้ภูเขาเล็กๆทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองก่ออิฐสร้างให้เป็นป้อม(ปัจจุบันบนยอดเขาเล็กๆลูกนี้เป็นที่ประดิษฐานเจดีย์ขนาดย่อม)
            แนวเส้นทึบที่ลามาร์ออกแบบไว้ให้เป็นแนวกำแพงอิฐและป้อมรูปแฉกดาว เข้าใจว่าคงไม่ได้ก่อสร้างเพิ่มเติมจากแนวรั้วไม้เดิม เพราะไม่พบหลักฐานแนวกำแพงอิฐแต่อย่างใด
            เมืองสงขลา ลามาร์เดินทางไปสงขลาเพื่อดูทำเลที่ตั้งและประเมินศักยภาพทางด้านวิศวกรรม นาวิกศาสตร์ ตลอดจนยุทธศาสตร์และเส้นทางการค้า เพราะสมเด็จพระนารายณ์ทรงปรารภจะยกเมืองสงขลาให้ฝรั่งเศสใช้เป็นเมืองท่าในการติดต่อกับจีน บอร์เนียว มนิลาและเมืองท่าอื่น ๆ ในภูมิภาคตะวันออกไกล
            ลามาร์ซึ่งได้มาสำรวจสภาพภูมิประเทศและความเป็นไปได้ในการพัฒนาให้เป็นเมืองท่าที่สำคัญ โดยในรายงานได้กล่าวถึงสภาพภูมิศาสตร์ที่บอกว่าสงขลาเป็นเกาะ รายงานถึงสภาพชายฝั่ง การงอกตัวของแหลม สันทราย รวมทั้งศึกษาเตรียมการสร้างเขื่อนเพื่อเป็นคันกั้นน้ำเพื่อกันไม่ให้ทรายไหลย้อนจนปิดปากอ่าว รวมทั้งทำเลในการจอดเรือซึ่งลามาร์รายงานว่าสามารถจอดเรือได้ถึง ๘๐ ลำ และสามารถใช้เกาะแมวเป็นที่กำบังคลื่นลมได้ หากเกิดพายุลมแรง เรือสินค้าที่จอดอยู่ก็จะไม่เสียหายมากนัก
           เหตุผลอย่างหนึ่งซึ่งประกอบการตัดสินใจในการเลือกสงขลาเป็นเมืองท่าสำคัญ กล่าวคือลามาร์ได้รายงานว่าห่างจากสงขลาไป ๘ กิโลเมตรก็จะพบทุ่งนาซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้น
ข้าวพอที่จะเลี้ยงประชาชนได้ ส่วนผักนั้นสามารถหาได้จากปัตตานีซึ่งอยู่ห่างไปทางทะเลเพียง ๖๐ กิโลเมตร ด้านหลังของเมืองสงขลามีทางน้ำภายในที่เดินทางไปทางไทรบุรี (เคดาห์)ได้ ซึ่ง
พระนารายณ์เคยมีพระราชดำริที่จะพัฒนาเส้นทางลัดข้ามคาบสมุทรเป็นเส้นคมนาคมสำคัญ
           ศักยภาพอื่น ๆ ของสงขลาอันเหมาะสมที่จะเป็นเมืองท่า คือน้ำจืดหาได้ไม่ยากเพียงแต่ขุดบ่อ น้ำก็จะซึมออกมา ส่วนวัสดุก่อสร้างที่จะใช้ในการสร้างป้อมปราการ ฯลฯ ก็ใช้หินจากหัวเขาแดง เพราะเป็นก้อนหินแผ่นแบนตัดมาใช้ในการก่อสร้างง่าย ส่วนปูนก็หาได้จากเกาะสี่เกาะห้ากลางทะเลสาบสงขลา ซึ่งใช้เวลาในการเดินทาง ๒ วัน สำหรับทรายก่อสร้างหาได้ทั่ว ๆ ไป
            ในบรรดาสิ่งก่อสร้างในการป้องกันเมืองนั้น ไม่ปรากฏคูเมือง ยกเว้นคูเมืองด้านทิศตะวันตกทางตอนหน้าของป้อมปืน ส่วนที่เหลือนั้นเป็นกำแพงธรรมดา ๆ บนยอดเขานั้นมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อกักน้ำฝน เพราะวัสดุในการก่อสร้างหาได้ไม่ยาก
            นอกเมืองไม่ปรากฏสิ่งก่อสร้าง แต่ควรจะก่อสร้างป้อมนอกเมืองด้านตะวันตก ส่วนบรรดาค่าก่อสร้างและรายละเอียดอย่างอื่นนั้น ลามาร์ไม่ได้คำนวณไว้เพราะไม่สามารถปีนขึ้นบนยอดเขาได้ และการก่อสร้างทั้งหลายควรจะดูถึงความคุ้มค่าด้วย
           เมื่อพิจารณาจากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าป้อมค่ายที่ลามาร์ได้ทำผังไว้นั้น ปัจจุบันยังปรากฏอยู่ครบถ้วนรวมทั้งสิ้น ๑๔ ป้อม คือ
            ป้อมบนที่ราบและเชิงเขา จำนวน ๖ ป้อม เป็นป้อมมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม
            ป้อมบนเขาและบนไหล่เขา รวม ๗ ป้อม ลักษณะเป็นป้อมผังรูปสี่เหลี่ยมเช่นเดียวกัน
            ป้อมชายฝั่งทะเล ซึ่งปรากฏในผังของลามาร์ปัจจุบันถูกกัดเซาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแนวฝั่งทะเลจนปัจจุบันไม่ปรากฏหลักฐานแล้ว
            ลามาร์ได้เพียงแต่มาสำรวจศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างเมืองท่าเท่านั้น ไม่ได้เสนอแนวการเสริมความมั่นคงทางด้านทหารแต่อย่างใด อาจจะเป็นเพราะเดิมได้ทำไว้ดีแล้ว เพียงแต่แนะนำการสร้างป้อมนอกเมืองด้านตะวันตกและดำริในการสร้างอ่างเก็บน้ำบนยอดเขา งานส่วนใหญ่ของลามาร์ที่สงขลาจึงเป็นเพียงการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเมืองท่าตะวันออกของฝรั่งเศสเท่านั้น โดยได้ศึกษางานด้านวิศวกรรม นาวิกศาสตร์ อุตุนิยม พาณิชย์ศาสตร์ พาณิชย์นาวีมากกว่าด้านยุทธศาสตร์
  

                                                            บรรณานุกรม
ศิลปากร, กรม  พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม    ไอเดียสแควร์                                  
    กรุงเทพ๒๕๓๕
ศิลปากร, กรม   ประชุมพงศาวดารฉบับหอสมุดแห่งชาติ ภาค ๑๒ภาค ๑๘ภาค ๓๒,ภาค  
   ๓๔ภาค ๓๖ภาค ๓๗ภาค ๓๘ภาค ๔๖ภาค ๔๗ภาค ๔๘ภาค ๔๙ภาค ๔๐,ภาค
   ๔๑ภาค ๔๒, ภาค ๔๓ภาค ๔๔ สำนักพิมพ์ก้าวหน้า พระนคร ๒๕๑๓
ศิลปากร, กรม   จดหมายเหตุการแพร่ศาสนาและการเดินทางของบรรดาพระสังฆราช
   ประมุขมิสซังและของพระสงฆ์ในปกครองในปี ค.๑๖๗๒ - .๑๖๗๕ (นายปอล
      ซาเวีย์ แปล), พิมพ์ครั้งแรก ๒๕๒๓
ศิลปากร, กรม การเดินทางของบาดหลวงตาชารด์ เล่ม ๑ -  ฉบับลายมือเขียนที่คัดมา
   จากต่างประเทศ ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร กรุงเทพพิมพ์ครั้งแรก พ.๒๕๒๑
ศิลปากร, กรม    จดหมายเหตุการเดินทางครั้งที่ ๒ ของบาดหลวงตาชารด์ .๑๖๘๗ -
   ๑๖๘๘ (นายสันต์ ทโกมลบุตร แปล), โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว กรุงเทพมหานครพิมพ์
   ครั้งแรก พ.๒๕๑๙
ศิลปากร, กรม   เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติ ของกระทรวงทหารเรือ(ฝรั่ง
   เศสเกี่ยวกับประเทศสยาม ค.๑๖๘๔ - ๑๗๐๐ (.๒๒๒๗ - ๒๒๔๒) โรงพิมพ์การ
   ศาสนาพิมพ์ครั้งแรก พ.๒๕๒๔
ศิลปากร, กรม   เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติ ของกระทรวงทหารเรือ(ฝรั่ง
   เศสเกี่ยวกับประเทศสยาม เล่ม ๒ .๑๖๘๗ - ๑๗๐๐ (.๒๒๓๐ - ๒๒๔๓)
   (นายสันต์ ทโกมลบุตร แปล), พิมพ์ครั้งแรก พ.๒๕๒๗
เดอ ชัวซีย์,บาดหลวง จดหมายเหตุรายวันการเดินทางไปสู่ประเทศสยามในปี ค.๑๖๘๕
   และ ๑๖๘๖(สันต์ ท.โกมลบุตร แปล) สำนักพิมพ์ก้าวหน้า กรุงเทพฯ พิมพ์ครั้งแรก พ..๒๕๑๖
La Marre. Description du Royaume de Siam 1687 Manuscrit Original, 18 Decembre 1687.  
   ParisFrance.
Service historique de La Marine VincennesCote du document : Recueii 62 Rif . du
   cliche No. 52 Recueil 62 No. 74, Plan original. par La MarreFrance.
Jacq - Hergoualc’h, Michel   Catalogue: Phra Narai, Roi de Siam e Louis XIV.    
   Musee de l’Orangerie 13 Juin - 13 Juillet 1986 Association Francaise d’ Action
   Artistique, PARIS. , 1986.
Jacq - Hergoualc’h, Michel. L’Europe et Le Siam du XVI au XVIII   Siecle :
   Apport culturels   Edition L’Harmattan, Paris., 1993.

นโยบายพัฒนาเมืองยุทธศาสตร์ทางทะเลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

นโยบายพัฒนาเมืองยุทธศาสตร์ทางทะเลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช





เหตุที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชขอให้ลามาร์วิศวกรฝรั่งเศสที่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ส่งมาพร้อมกับราชทูตคณะแรกอยู่ประเทศไทยต่อนั้น มีพระประสงค์จะให้ลามาร์ได้รับสนองพระ
ราชประสงค์ในการจัดวางแผนการก่อสร้างความมั่นคงแข็งแรงเมืองยุทธศาสตร์ทั้งทางบกและทางทะเลบางเมือง ทั้งที่ฝรั่งเศสได้ประโยชน์เองและเป็นประโยชน์เฉพาะประเทศไทยเอง ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มเมืองได้ดังต่อไปนี้
            กลุ่มราชธานีและเมืองลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นเมืองยุทธศาสตร์ทางบกและทางทะเลของอ่าวไทย ได้แก่ อยุธยา ลพบุรี บางกอก อินทร์บุรี
            กลุ่มเมืองท่าทางฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ เมืองมะริด
            กลุ่มเมืองท่าทางฝั่งทะเลอ่าวไทยหรือฝั่งทะเลตะวันออก ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา
            พระราชประสงค์ของสมเด็จพระนารายณ์ที่มีต่อการวางแผนพัฒนาเมืองเหล่านี้มีดังต่อไปนี้
            . กลุ่มเมืองราชธานีและเมืองลุ่มเจ้าพระยา สำหรับอยุธยาต้องการแผนที่และแผนผังเมืองอย่างละเอียด เพื่อกำหนดว่าควรจัดสรรให้ประชากรต่างเชื้อชาติ ศาสนา อยู่ในบริเวณใดบ้าง ตลอดจนเสริมความมั่นคงแข็งแรงของเมือง สำหรับเมืองลพบุรี ต้องการให้เป็นราชธานีอีกแห่งและเป็นเมืองที่มีทางหนีทีไล่เมื่อเกิดกบฏ ทั้งภายในราชสำนักและกบฏอันเกิดจากการแบ่งกลุ่มก๊กของชาวต่างชาติเช่น กบฏแขกมักกะสันเป็นต้น เพราะพระราชฐานในกรุงศรีอยุธยานั้นอยู่ใกล้กับชุมชนชาวต่างชาติ สำหรับเมืองอินทร์บุรีนั้น มีพระประสงค์จะให้วางแนวสร้างป้อมปืนใหญ่เพื่อต่อต้านการรุกรานของ กัมพูชา ลาว และพะโค เนื่องจากทรงเห็นว่าอินทร์บุรีเป็นชุมทางใหญ่ ๓ สายที่จะเป็นจุดยุทธศาสตร์ป้องกันข้าศึกที่จะเข้ามารุกรานกรุงศรีอยุธยาในทางบกได้ สำหรับเมืองบางกอกนั้น เป็นเมืองยุทธศาสตร์ปากอ่าวไทย เรือที่จะเข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาจะต้องผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาทางเมืองบางกอกที่เป็นชัยภูมิป้องกันข้าศึกทางทะเลของไทยมาแต่เดิม และมีป้อมปราการอยู่แล้วทั้งทางฝั่งตะวันตกและตะวันออก สมเด็จพระนารายณ์มีพระประสงค์จะให้กองทหารพร้อมอาวุธปืนใหญ่ของฝรั่งเศสไปประจำอยู่ที่ป้อมนี้ เพื่อรักษาปากน้ำอันเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ โดยขอให้ลามาร์ วางแผนการพัฒนาป้อมปราการตลอดจนพัฒนาบางกอกให้เป็นเมืองท่าสำคัญอีกแห่งหนึ่งด้วย
            กลุ่มเมืองท่าทางฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งได้แก่เมืองมะริดนั้น เป็นเมืองท่ามาแต่เดิม และเป็นเมืองท่าสำคัญทางฝั่งตะวันตก คู่เคียงกันมากับเมืองตะนาวศรีซึ่งในสมัยนั้นอยู่ในขอบขัณฑสีมาของไทย เมืองนี้เป็นทั้งเมืองยุทธศาสตร์ทางทะเล และสถานีการค้า ที่จะสกัดกั้นเรือที่จะยกพลมาขึ้นบกและเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาได้โดยง่าย ขณะเดียวกันก็เป็นฐานกำลังที่จะป้องกันการรุกรานของพม่าได้ด้วย
            กลุ่มเมืองท่าทางฝั่งทะเลตะวันออก เมืองนครศรีธรรมราชนั้น เคยเป็นเมืองประเทศราชมาก่อนและยังเป็นเมืองท่าค้าขายมาแต่โบราณ และเป็นฐานที่มั่นของกำลังทหาร สนับสนุนเมืองสงขลาและพัทลุงหากมีการกบฏของเจ้าประเทศราชที่เป็นแขกมลายูในเมืองที่อยู่ใต้ลงไป ส่วนเมืองสงขลานั้นเป็นเมืองที่พวกแขกในไทรบุรี มักยกมาโจมตีและยึดเป็นฐานที่มั่นจนสมเด็จพระนารายณ์ยกกองทัพไปปราบและให้ทำลายป้อมค่ายลง เพื่อกำจัดอิทธิพลมุสลิมไม่ให้มีฐานที่มั่นได้ แต่เมื่อเห็นว่าฝรั่งเศสต้องการเมืองนี้เป็นสถานีการค้า เพื่อแข่งกับฮอลันดาที่ค้าขายอยู่กับเมืองปัตตานี   และเพื่อเป็นการป้องกันการกบฏและอิทธิพลของมุสลิม   จึงต้องการให้ฝรั่งเศสวางโครงการสร้างป้อมปราการพัฒนาเมืองเพื่อเป็นสถานีการค้าและมีกำลังทหารประจำเช่นกัน สำหรับเมืองพัทลุงนั้นทรงประสงค์จะให้รื้อฟื้นเมือง ป้อมปราการที่จะคุมเส้นทางการค้าและการสกัดกั้นอิทธิพลมุสลิมควบคู่ไปกับเมืองสงขลา 

สภาพการณ์สังเขปสมัยสมเด็จพระนารายณ์

สภาพการณ์สังเขปสมัยสมเด็จพระนารายณ์



 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา ระหว่าง พ..๒๑๙๙ ถึง .๒๒๓๑ (..๑๖๕๖ ถึง.๑๖๘๘รัชสมัยของพระองค์อยู่ในภาวะเปิดประเทศ ตามหลักฐานประวัติศาสตร์กล่าวว่ามีชนชาติต่างๆ เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เข้ามาอาศัยชั่วคราวและถาวรถึง ๔๐ ชาติ ทั้งมารับราชการทหารและประกอบการค้า
            สถานการณ์ของประเทศในตอนนั้นมีทั้งการแย่งชิงความเป็นใหญ่ในราชสำนัก สงครามดินแดนระหว่างไทย พม่า มลายู การแก่งแย่งผลประโยชน์ทางการค้าระหว่างอังกฤษ ฮอลันดา โปรตุเกส และฝรั่งเศส ตลอดจนการแข่งขันการแผ่ลัทธิศาสนาที่แตกต่างกันคือ คริสตศาสนาและศาสนาอิสลาม
            หลักสำคัญในการวางนโยบายของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชคือ การใช้วิธีทางการฑูต ทั้งในภูมิภาคเดียวกันและกับมหาอำนาจยุโรปที่มีอิทธิพลทางการรบทางทะเล ซึ่งมีกำลังทหารและอาวุธที่ทันสมัย
            ด้วยเหตุที่ประเทศไทย (กรุงสยามในสมัยนั้นมีขอบขัณฑสีมากว้างไกล โดยฝั่งตะวันตกก็ครอบคลุมจนถึงตะนาวศรี มะริดที่อยู่ติดทะเลอันดามัน อันเป็นเส้นทางที่เรือเดินทะเลทางยุโรป เปอร์เซีย อินเดีย จะเข้ามาถึงก่อน และทางใต้ซึ่งไปถึงกลันตัน ไทรบุรี และปัตตานี
ที่เป็นประเทศราช ขณะเดียวกันอิทธิพลใน กัมพูชา และเวียดนาม ก็ยังมีอยู่มากประกอบกับในสมัยนั้นไทยเป็นคู่ค้าสำคัญกับจีน ญี่ปุ่น ซึ่งสินค้าจาก ๒ ประเทศนี้เป็นที่ต้องการของชาวอินเดีย เปอร์เซียและฝรั่งตะวันตกโดยเรือสินค้าเหล่านี้จะมาแวะที่เมืองท่าต่างๆ ในประเทศไทย
            การติดต่อกับนานาชาติ ตลอดจนเขตแดนที่ขยายลงไปทางใต้มากที่มีเมืองหรือประเทศราชที่ประชาชนนับถือศาสนาอิสลาม ทำให้ต้องมีนโยบายทั้งรับและรุกในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ยอมให้เป็นประเทศราชปกครองตนเอง นำเจ้าเมืองหรือผู้ปกครองมาไว้รับใช้ใกล้ชิดแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์สูงในกรุงศรีอยุธยา หรือให้ไปปกครองเมืองในขอบขัณฑสีมาบางเมือง ยอมให้กระทำพิธีทางศาสนาและสร้างสุเหร่าได้เป็นต้น อิทธิพลของกลุ่มชนที่นับถือศาสนาอิสลามมากขึ้นเป็นลำดับ จึงทรงมีนโยบายที่จะให้มีการเผยแพร่คริสตศาสนาของพวกฝรั่งเพื่อถ่วงดุลฐานอำนาจเดิมของพวกมุสลิมขณะเดียวกันก็หวังเอาฝรั่งมาเป็นพวกและให้ถ่วงดุลอำนาจกันเองระหว่างฝรั่งชาติต่างๆ ที่เข้ามาค้าขายอยู่ในขณะนั้นด้วย
            จากหลักฐานประวัติศาสตร์เห็นได้ชัดเจนว่า ในบรรดาฝรั่งชาติต่างๆ ที่เข้ามานั้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีพระประสงค์จะมีสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสมากกว่าชาติอื่น สาเหตุ
มาจากความไม่พอพระทัยการรุกรานและข่มขู่เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิประโยชน์ทางการค้าของอังกฤษและฮอลันดา ประกอบกับทรงทราบว่าพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสในขณะนั้นคือพระเจ้า
หลุยส์ที่ ๑๔ มีพระราชอำนาจเป็นที่น่าเกรงขามในทวีปยุโรป ฝรั่งเศสเองก็ต้องการค้าขายสร้างความร่ำรวยกับประเทศแถบนี้อยู่แล้วและต้องการเผยแพร่คริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิกด้วย ทั้งสองฝ่ายจึงส่งราชทูตเจริญสัมพันธไมตรีซึ่งกันและกัน
            จากสัญญาทางพระราชไมตรีระหว่างสองประเทศและจากจดหมายเหตุราชทูต บาดหลวง นายทหารและผู้เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่าย แสดงถึงสิทธิประโยชน์แลกเปลี่ยนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในเรื่องสำคัญ ๓ เรื่องคือ
                        สิทธิทางการเผยแพร่คริสตศาสนา
                        ผลประโยชน์ทางการค้า เช่นการตั้งบริษัทการค้า การให้ผูกขาดสินค้าบางประเภท
                        การพัฒนาเมืองยุทธศาสตร์ทางบกและทางทะเล
            ในแง่ของฝ่ายไทยที่จะได้รับผลประโยชน์จากทั้ง ๓ เรื่องนั้น ในข้อที่ ๑ เป็นไปโดยทางอ้อม คือการใช้คริสตศาสนา เป็นการถ่วงดุลของศาสนาอิสลามและกลุ่มข้าราชการมุสลิมที่มีอำนาจในราชสำนัก และเป็นเจ้าครองเมืองอยู่หลายเมืองในขณะนั้น ในข้อที่ ๒ เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน แต่ฝรั่งเศสน่าจะได้กำไรจากสินค้าผูกขาดบางอย่างที่มุ่งหวัง เช่นดีบุก พริกไทย การมุ่งหวังที่จะผูกขาดหรือทำกำไรจากสินค้าบางตัวนี้ มีผลถึงเป้าหมายที่ฝรั่งเศสจะเลือกทำเลที่ตั้งบริษัทการค้าของฝรั่งเศสและชัยภูมิที่จะตั้งกองกำลังป้อมค่ายเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของฝรั่งเศสด้วย ซึ่งจะนำไปสู่ข้อตกลงที่ ๓ อันเป็นข้อที่ปรากฏเรื่องราวมากมายถึงการเจรจา การวางเงื่อนไข การปรับเปลี่ยนสัญญาให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของแต่ละฝ่าย ซึ่งสรุปได้ว่า ฝรั่งเศสต้องการพัฒนาเมืองบางเมืองที่เอื้อต่อการปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าและเป็นชัยภูมิที่มั่นที่คนฝรั่งเศสจะมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเมื่อเกิดความผันแปรทางการเมืองได้ ขณะที่ฝ่ายไทยต้องการให้ฝรั่งเศสอยู่ในฐานะผู้เข้ามาช่วยดูแลร่วมกับฝ่ายไทย และมีกองกำลัง อาวุธ ตลอดจนป้อมปราการที่จะป้องกันข้าศึกที่จะมารุกราน ไม่ว่าจะเกิดจากภัยสงครามแบ่งดินแดน สงครามทางการค้าหรือ ศาสนา
            ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๒๒๘ - ๒๒๓๑ (ค.ศ.๑๖๘๕ - ๑๖๘๘อันเป็นช่วงที่ไทยและฝรั่งเศส ต่างฝ่ายต่างส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกันและกันนั้น ทางฝรั่งเศสนอกจากส่งกองทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์มาให้ตามที่ไทยเรียกร้องและเพื่อประจำอยู่ตามเมืองท่ายุทธศาสตร์ที่จะปกป้องผลประโยชน์ของฝรั่งเศสแล้ว ก็ยังส่งวิศวกรมาเพื่อทำแผนที่เมืองต่างๆ เพื่อฝรั่งเศสใช้เป็นข้อมูลเลือกทำเลดังกล่าว ที่ปรากฏชื่อและมีผลงานเด่นชัดในเรื่องนี้มี ๒ คน คือ ลามาร์ (Monsieur Lamare)และ โวลองต์ (Monsieur Volant) ลามาร์เข้ามาประเทศไทยพร้อมกับเรือคณะทูตชุดเชอวาลิเอร์ เดอ โชมองต์ ในปี พ..๒๒๒๘ และตายในประเทศไทยในปีพ.๒๒๓๒ คือภายในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ผลัดเปลี่ยนแผ่นดินจากสมัยสมเด็จพระนารายณ์ไปเป็นรัชสมัยของสมเด็จพระเพทราชา ลามาร์ได้เข้ามาทำแผนที่และร่างแบบแปลนแผนผังเพื่อพัฒนาเมืองต่างๆ พร้อมบันทึกความเห็นถึงสภาพทำเลที่ตั้งของเมืองนั้นๆ ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา อินทร์บุรี บริเวณรอบๆอยุธยา กรุงเทพฯ (บางกอกลพบุรี มะริด (Mergui) ลามาร์กล่าวว่าตนได้ทำตามพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ไทย แต่ลามาร์เองก็มิได้ประสงค์จะเข้าเป็นข้าราชสำนักไทยจึงปฏิเสธที่สมเด็จพระนารายณ์จะปูนบำเหน็จให้ไปเป็นเจ้าเมืองมะริด แต่ประสงค์จะรับเงินในฐานะวิศวกรของฝรั่งเศสจากพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ มากกว่า โครงการพัฒนาเมืองเหล่านี้ในรูปของแบบแปลนแผนผังซึ่งวางแผนว่าควรสร้างป้อมปราการกำแพงเมืองที่ใดอย่างไร ลามาร์ได้ฝากส่งไปกับเรือเพื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ทอดพระเนตร นัยว่าจะได้ทรงพิจารณาว่าควรขอเมืองใดให้เป็นที่มั่นของฝรั่งเศสระหว่างภูเก็ต มะริด สงขลา ฯลฯ
            สำหรับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็ทรงพอพระทัยผลงานของลามาร์มากและคงจะมีพระดำริที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อเมืองยุทธศาสตร์เหล่านี้นอกเหนือจากจะยกให้ฝรั่งเศสดูแล แม้ว่าจะมิได้กล่าวถึงโดยตรง แต่จะเห็นว่านโยบายการสร้างป้อมปราการของเมืองบางกอกได้เริ่มดำเนินการแล้ว แต่เนื่องจากลามาร์เขียนแบบแปลนแผนผังเหล่านี้แล้วเสร็จในปี พ.๒๒๓๐ ซึ่งในปีรุ่งขึ้น (..๒๒๓๑) สมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ทรงประชวรและสิ้นพระชนม์ในที่สุด ดังนั้นแผนการที่จะดำเนินการตามนี้จึงอาจหยุดชะงักลง จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า แบบแปลนแผนผังที่ลามาร์ทำนี้ฝรั่งเศสเองรับไปดำเนินการสร้างป้อมที่เมืองมะริดในปี พ.๒๒๓๑ (คศ๑๖๘๘เมื่อเห็นว่าตนจะได้เมืองนี้เป็นที่มั่นและให้ลามาร์ไปทำแผนที่และร่างแบบแปลนแผนผังพัฒนาเมืองภูเก็ตอีกเมืองหนึ่งในปีพ.๒๒๓๒ เพื่อประโยชน์ของฝรั่งเศสเอง อันเป็นงานชิ้นสุดท้ายที่ลามาร์ได้ทำไว้นอกเหนือจากที่ดำเนินการตามพระบรมราชโองการของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
            โวลองต์ เข้ามาในประเทศไทยเมื่อปีพ.๒๒๓๐ (ค.ศ๑๖๘๗และมาทำแผนผังและวางโครงการสร้างป้อมปราการที่เมืองบางกอกเป็นสำคัญ โดยมีหลายอย่างที่มีความเห็นไม่ตรงกันกับลามาร์ แต่ขณะเดียวกันทางฝ่ายฝรั่งเศสเองก็ไม่สู้จะนิยมชมชอบผลงานของโวลองต์นักเพราะเห็นว่าเป็นโครงการที่ใหญ่โตเกินไป หลายปีจึงจะสำเร็จ ต้องการให้มีการดำเนินการอย่างรีบด่วน เพราะขณะนั้นฝรั่งเศสได้เมืองบางกอกเป็นที่มั่นสำคัญ มีกองกำลังทหารรักษาป้อมปราการเดิมที่มีอยู่แล้ว
            เนื้อหาที่จะกล่าวต่อไปจะได้พิจารณาใน ๒ เรื่องคือโครงการแบบแปลนแผนผังเมืองเหล่านี้แสดงให้เห็นนโยบายในการพัฒนาเมืองยุทธศาสตร์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชอย่างไร และจากหลักฐานโบราณคดีแบบแปลนแผนผังเมืองบางเมืองที่เป็นเมืองยุทธศาสตร์ทางทะเลนั้นสภาพก่อนการทำแผนผังและหลังการทำแผนผังมีอะไรที่แตกต่างออกไปบ้าง ในประเด็นนี้จะนำเสนอหลักฐานเฉพาะเมืองท่าทางทะเลในภาคใต้ที่มีข้อมูลทางโบราณคดีได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา  

11/15/2554

ลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์กาญจนบุรี สมัยสุโขทัยถึงอยุธยา


v ลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์

สมัยประวัติศาสตร์


กาญจนบุรีสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ.1781-1921)


ถึงแม้ในจารึกพ่อขุนรามคำแหงจะไม่ได้กล่าวถึงเมืองกาญจนบุรี  จึงไม่ปรากฏบทบาททั้งทางด้านทหาร การปกครองหรือการติดต่อค้าขายที่มีความสัมพันธ์กับสุโขทัย  แต่จากร่องรอยอิทธิพลขอมที่ปรากฏที่ปราสาทเมืองสิงห์สันนิษฐานว่าเมืองกาญจนบุรีนั้นเป็นเมืองที่สำคัญเมืองหนึ่งอันเป็นเส้นทางสัญจรของพ่อค้า นักเดินทางก่อนที่จะเดินไปยังเมืองต่างๆ เช่น เมืองมะริด เมืองทวาย เป็นต้น ผ่านทางด่านเจดีย์สามองค์  ด่านบ้องตี้



ด่านบ้องตี้ (ถ่ายจากถนนบ้องตี้) อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี       ด่านเจดีย์สามองค์ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...